Lifestyle

รู้จัก "ฮอร์โมนความรัก" ออกซิโตซิน ที่ไม่ได้มีดีแค่เรื่องรัก ๆ ใคร ๆ เท่านั้น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รู้จัก "ฮอร์โมนความรัก" ออกซิโตซิน ฮอร์โมนที่มีดีมากกว่าเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ สำคัญมากกับหญิงตั้งครรภ์ แต่ระวังอย่าให้ฮอร์โมนแปรปรวน

"ฮอร์โมนความรัก" หรือ LOVE HORMONE ฮอร์โมนที่มีประโยชน์มากกว่าการช่วยเรื่องความรัก เพราะโดยปกติแล้ว "ฮอร์โมนความรัก" หรือที่เรียกอีกอย่างว่า ออกซิโตซิน (Oxytocin) คือ ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมอง หน้าที่หลัก ๆ คือ ฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับการคลอดลูกและให้นมบุตร นอกจากนี้ยังทำให้เกิดสายใยผูกพันที่ยิ่งใหญ่ของแม่และลูก ความสำคัญของออกซิโตซิน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความผูกพันกับคนอื่นด้วยเช่นเดียวกัน การกอด สัมผัสมือ หรือการมีเซ็กส์จะทำให้สมองหลั่งออกซิโตซินมากขึ้น 
 

สำหรับ "ฮอร์โมนความรัก"  หรือ ออกซิโตซิน (Oxytocin) มีประโยชน์มาก ๆ สำหรับหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ โดย "ฮอร์โมนความรัก" ที่มีอยู่ในร่างกาย ผลิตจาก hypothalamus และหลั่งจาก pituitary gland จำเป็นสำหรับการคลอดบุตรและการให้นมบุตร จึงมีการนำมาใช้เป็นยาเพื่อชักนำและเพิ่มการหดรัดตัวของมดลูกในขบวนการคลอดบุตร (Augmentation of labour) รวมทั้งรักษาภาวะมดลูกไม่หดรัดตัวภายหลังจากการคลอดบุตร 
 

ประโยชน์ของ "ฮอร์โมนความรัก" การที่ร่างกายหลั่ง Love Hormone ออกมายังทำให้เกิดประโยชน์อย่างอื่นอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

  • ลดความเครียด
  • เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
  • โรแมนติกมากขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม "ฮอร์โมนความรัก" ยังออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับออกซิโตซินด้วย ได้แก่ เอนดอร์ฟิน (Endorphin) หรือ ฮอร์โมนแห่งความสุข HAPPY HORMONE  หรือ เอนดอร์ฟิน คือเมื่อใดก็ตามที่ร่างกายหลั่ง "ฮอร์โมนความรัก"  ร่างกายเกิดความสุข ความผ่อนคลาย ลดความเครียด ลดอาการปวด ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ชะลอความเสื่อมของร่างกาย ดังนั้นเมื่อเรามีความรัก จะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งทั้งฮอร์โมนออกซิโตซิน คล้ายๆกับเวลาที่ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟิน  ทั้งนี้ ออกซิโทซิน หรือ  "ฮอร์โมนความรัก" ไม่ทำหน้าที่แต่ในแง่ดีเพียงเท่า แต่ตัวการที่สร้างความขัดแย้ง และอคติกับคนที่เรารู้สึกว่าเขาไม่ใช่พวกของเรา จนเกิดการ Bully หรือการเหยียด และการคุกคาม หากฮอร์โมนนี้ทำให้เรารู้สึกเชื่อใจคนที่เรารัก มันก็ทำให้เรารู้สึกไม่ไว้ใจคนอื่น และสามารถทวีความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นความเกลียดได้เช่นกัน 

ขอบคุณข้อมูล : petcharavejhospital,bangkokhospital

 

 

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w  

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ