Lifestyle

'ปีอธิกสุรทิน' 4 ปีมี 1 หน เปิดเหตุผลทำไม กุมภาพันธ์ จึงมี 29 วันบางปี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'ปีอธิกสุรทิน' 366 วัน 4 ปีจะเกิดขึ้น 1 หน เปิดเหตุผลเพราะอะไร กุมภาพันธ์ จึงมี 29 วันแค่บางปี แล้วมีการคำนวณยังไงจึงนับว่าเป็นปีนี้

ปี 2024 นับเป็นอีกหนึ่งปีที่เป็น "ปีอธิกสุรทิน" ซึ่งเป็นที่มี 366 วัน ซึ่ง "ปีอธิกสุรทิน" เป็นปีที่จะมีวันเพิ่มขึ้นมาอีก 1 วัน คือวันที่ 29 กุมภาพันธ์ นั้นเอง  โดยการคำนวณ"ปีอธิกสุรทิน" จะมีการคำนวณตามการโคจรของดวงอาทิตย์ ต้องใช้เวลารวมทั้งสิ้น 365 วันหรือ 1 ปี ซึ่งเรียกว่าปีปกติสุรทิน (Common Year) แต่ใน "ปีอธิกสุรทิน" ไม่ได้มี 24 ชั่วโมงพอดิบพอดี

แต่จะเป็น 23.2422 ชั่วโมง ซึ่งในการเพิ่ม "ปีอธิกสุรทิน" ก็ทำให้ปฏิทินยาวขึ้นได้กว่า 44 นาที  ส่งผลให้มีจำนวนวันทั้งหมด 365 วัน 6 ชั่วโมง 9 นาที หรือ 365.2524 วัน และได้มีการปัดเศษส่วนเกิน .25 วัน จึงทำให้มีการนับรวมว่า "ปีอธิกสุรทิน" จึงมี 366 วัน และจะเกิดขึ้น 4 ปี 1 ครั้งเท่านั้น 

เพื่อจัดเก็บวันที่เกินมา 1 วันใน "ปีอธิกสุรทิน"  ออกัสตัน ซีซาร์ มีการปรับเปลี่ยนเดือนของตัวเองที่เกิดในเดือนสิงหาคม (August)ที่เพิ่มจาก 30 วัน เป็น 31 วัน ซึ่งเป็นการดึงวันมาจากเดือนกุมภาพันธ์ จึงทำให้เดือนกุมภาพัฯธ์มี 28 วันและ 29 วัน ตามปฏิทินในปัจจุบัน 

 

 

นอกจากนี้ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์เป็นวันที่ซึ่งปกติมีทุกสี่ปี และเรียกว่า อธิกวาร (leap day) วันนี้เพิ่มเข้าไปในปฏิทินในปีอธิกสุรทินเพื่อเป็นมาตรการแก้ไขวันที่ให้ถูกต้อง เพราะโลกไม่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์ 365 วันพอดี

 

 

ออกัสตุส ซีซาร์ คือใคร  คือ บุตรบุญธรรมของจูเลียส ซีซาร์ ต้องการให้มีชื่อตัวเองในปฏิทินด้วย จึงเปลี่ยนชื่อเดือนสิงหาคมจากเซกติลิส (Sextillis) ให้เป็นออกัส (August) และเพิ่มให้เดือนนี้มี 31 วันเท่ากับเดือนของบิดาบุญธรรม (July) โดยลดเดือนกุมภาพันธ์ให้เหลือเพียง 28 วันในปีปกติสุรทิน และ 29 วันในปีอธิกสุรทิน

 

 

ที่มา: economictimes 
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ