Lifestyle

เปิดตำนาน 'ขนมเข่ง' ทำไมใช้เป็น ขนม ไหว้เจ้า 'ตรุษจีน'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ตรุษจีน 2567 : เปิดตำนาน 'ขนมเข่ง' ที่ไม่มีใครเคยรู้ เพราะอะไร ถึงถูกเลือก ให้เป็น ขนม ไหว้เจ้า ในเทศกาล 'ตรุษจีน'

“วันตรุษจีน” เทศกาลที่ชาวจีน และ ชาวไทยเชื้อสายจีน ต่างให้ความสำคัญ เพราะถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งอาหารที่ใช้สำหรับไหว้เจ้า ก็มีมากมาย ทั้งอาหารคาว หวาน ผลไม้ และ ขนม แต่มีเพียงสิ่งเดียว ที่ไม่มีไม่ได้ ในทุก “ตรุษจีน” หรือ สารทจีน คือ “ขนมเข่ง” ขนมเทียน  ตำนานของขนมเข่ง มีความเป็นมาอย่างไร ทำไมถึงถูกเลือกเป็นขนมมงคล ที่ใช้สำหรับ ไหว้เจ้า  

ความหมายของ “ขนมเข่ง”

 

ขนมเข่งในภาษาจีน เรียกว่า เหนียนเกา แปลว่า ขนมเค้กปีใหม่ โดย “เหนียน” แปลว่า ปี “เกา” แปลว่า ขนมที่ทำมาจากแป้งข้าว ซึ่งคำว่า เกา ก็ไปพ้องเสียงกับคำว่า เกา ที่แปลว่า สูง อีกด้วย จึงเกิดเป็นความหมายว่า แต่ละปีดีขึ้นกว่าปีก่อนๆ ทำให้เหนียนเกา กลายเป็นสัญลักษณ์ของวันตรุษจีน และถ่ายทอดมาถึงประเทศไทย จากนั้น ถูกดัดแปลงให้เข้ากับคนไทย เรียกว่า “ขนมแข่ง” จนถึงปัจจุบัน

 

 

ส่วนความหมายของ “ขนมเข่ง” คือ ชีวิตที่หวานชื่นและราบรื่น โดยเฉพาะขนมเข่งที่ใส่ในชะลอม มีความหมายคือ ความหวานชื่นอันสมบูรณ์

             ขนมเข่ง

 

ตำนาน “ขนมเข่ง”

 

 

ขนมเข่ง ได้เข้ามามีบทบาทในการไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ และเทพเจ้าต่างๆ เกิดขึ้นจากความเชื่อของมนุษย์ โดยมีหลายตำนานเล่าแตกต่างกันไป

 

 

บางตำนาน เล่าว่า เทพเจ้าจีนซึ่งคอยปกปักษ์รักษามนุษย์ จะต้องขึ้นไปถวายรายงานความดีและความชั่ว ที่มนุษย์ทุกคนได้กระทำให้กับองค์เง็กเซียน ฮ่องเต้บนสวรรค์ได้รับรู้ ในช่วงก่อนที่จะถึงวันตรุษจีน 4 วัน ก็มีมนุษย์ที่ไม่ค่อยได้ทำความดี คิดทำขนมเข่งขึ้นมา เพื่อหวังให้ขนมเข่งช่วยปิดปากเทพเจ้า ให้ไม่สามารถรายงานความชั่วได้ เพราะขนมเข่งทำจากแป้งกวนกับน้ำตาลทราย แล้วนำไปนึ่งจนมีลักษณะเหนียวหนืด

 

 

บ้างก็ว่า เจ้าของบ้านที่เอา “ขนมเข่ง” ขนมเทียนมาไหว้ ก็เพื่อให้ท่านพูดแต่สิ่งดีๆ และเมื่อท่านเคี้ยวแล้วเหนียว จะชมว่าครอบครัวนี้ทำแต่ความดี

 

 

บางตำนานก็เล่าว่า ขนมเข่ง มีที่มา มาตั้งแต่ยุคที่คนจีนอพยพเข้ามาอยู่ที่ประเทศไทยโดยเรือสำเภา ตอนนั้นชาวจีนต้องหาอาหารอย่างขนมเข่ง ที่สามารถเก็บรักษาไว้ได้เป็นเวลานาน เพื่อการดำรงชีวิต ระหว่างอพยพมาที่เมืองไทย เมื่อคนจีนมาถึงไทยและปักหลักอยู่ที่ไทย จึงนำขนมเข่งมาไหว้เทพเจ้า เพื่อเป็นการขอบคุณ และรำลึกถึงความยากลำบากในตอนนั้นนั่นเอง

ขนมเข่ง

 

ขนมเข่ง ในรูปแบบต่างๆ ของจีน

 

 

ขนมเข่งทางตอนเหนือ

ขนมเข่งทางตอนเหนือ จะนิยมใช้วิธีนึ่ง หรือนำไปทอด รสชาติจะออกหวานเป็นหลัก เช่น ขนมเข่งของปักกิ่ง นิยมใช้แป้งข้าวเหนียว และแป้งข้าวเหลือง ซึ่งเป็นข้าวสีเหลืองที่พบทางภาคเหนือของจีน มาผสมกัน แล้วนำพุทราจีนแห้งมายัดเป็นไส้ หรือใช้วิธีการคลุกผสมกัน จากนั้นนำไปนึ่ง ขนมเข่งประเภทนี้เรียกว่า “หงจ่าวเหนียนเกา” หรือถ้านำไปผสมกับน้ำตาลและเมล็ดธัญพืชต่างๆ เรียกว่า “ไปกั๋วเหนียนเกา”

 

 

ขนมเข่งแถบเจียงหนาน

ขนมเข่งแถบเจียงหนาน อยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียง เช่น นานกิง ซูโจว หางโจว เซี่ยงไฮ้ จะมีลักษณะเป็นสีขาว รสชาติจืด ใช้แป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าวเหนียวผสมกัน แป้ง 2 ชนิดนี้จะใส่มากใส่น้อยแล้วแต่ความชอบของคนทำ ถ้าหากชอบแบบแข็งจะใส่แป้งข้าวเจ้าในสัดส่วนที่มากกว่า แต่หากชอบแบบนุ่มเหนียว ก็ใส่แป้งข้าวเหนียวมากกว่า แล้วนำไปนึ่ง ทอด หรือจะหั่นให้เป็นแผ่นๆ ผัดหรือต้มกับน้ำแกงกินก็ได้

 

 

ขนมเข่งแบบฝูโจว

ขนมเข่งแบบฝูโจว เป็นขนมเข่งที่พบได้ทั่วไป ทำจากแป้งข้าวเหนียวและแป้งข้าวเจ้า ผสมกับน้ำตาลทรายแดง และอาจใส่ถั่วลิสง พุทราแห้ง ผสมลงไปเป็นไส้ โดยจะปั้นแป้งเป็นก้อนๆ แล้วใส่ไส้ จากนั้น นำไปวางลงบนในตอง ซึ่งคนแถบฝูโจวจะเรียกว่าใบเหนียนเกา

 

 

 

 

 

ที่มา : foodtrue,openricethailand

logoline