Lifestyle

'เห็ดป่า' อาจเป็น 'เห็ดพิษ' อันตรายถึงตาย เช็กด่วน เห็ด ชนิดใด ห้ามกินเด็ดขาด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แนะวิธีสังเกต 'เห็ดป่า' ที่เป็น พิษ รับประทานแล้วอันตรายมีลักษณะอย่างไร และอาการแบบไหนที่จะทำให้ทราบว่ากิน 'เห็ดพิษ' เข้าไป

เห็ดป่า จัดเป็นอาหารที่นิยมรับประทานในหลายภูมิภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะใน หน้าฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ เห็ด ผุดขึ้นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงนิยมเก็บมาประกอบอาหาร และขายในตลาดท้องถิ่น ส่งผลให้ในช่วงหน้าฝนเกิดสถานการณ์อาหารเป็นพิษจากการรับประทาน เห็ดพิษ เพิ่มขึ้น

 

สำหรับ เห็ดป่า ที่เป็น พิษ รับประทานแล้วอันตรายมีลักษณะอย่างไร และสังเกตอาการแบบไหนที่จะทำให้ทราบว่ากิน เห็ดพิษ เข้าไป

 

เห็ดระโงกหินหรือเห็ดระงาก

 

เห็ดระงากหมวกสีดำ

 

 

1. เห็ดระโงกหินหรือเห็ดระงากและเห็ดระงากหมวกสีดำ สร้าง พิษ กลุ่ม Amatoxins เมื่อรับประทาน เห็ดพิษ กลุ่มนี้ผู้ป่วยจะเกิดอาการภายใน 6-24 ชั่วโมง

 

อาการ

  • ท้องร่วง เป็นตะคริวที่ท้อง คลื่นไส้ อาเจียนแสดงอาการประมาณ 1 วัน หลังจากนั้นมีอาการตับและไตวายและอาจเสียชีวิต

 

วิธีการคัดแยก

  • เห็ดระโงกหินหรือเห็ดระงาก และเห็ดระงากหมวกสีดำ ผิวหมวกเห็ดบริเวณขอบหมวกไม่มีริ้วคล้ายซี่หวี และก้านตันตลอดแนวเมื่อผ่าก้าน เห็ด
  • เห็ดระโงกขาวที่รับประทานได้ ผิวหมวกเห็ดสีขาวครีม/สีเหลือง ผิวเรียบมันวาว ขอบหมวกมีริ้วคล้ายซี่หวีและก้านกลวงตลอดแนวเมื่อผ่าก้านเห็ด ในกรณีของเห็ดระโงกไส้เดือนหรือเห็ดขี้ไก่เดือน ผิวหมวกเห็ดสีน้ำตาลเข้มกลางหมวกแล้วค่อยๆ จางลงมาที่ขอบ ผิวเรียบ ขอบหมวกมีริ้วคล้ายซี่หวีและก้านกลวงตลอดแนวเมื่อผ่าก้านเห็ด

 

เห็ดถ่านเลือด

 

 

2. เห็ดถ่านเลือด เมื่อรับประทาน เห็ดพิษ กลุ่มนี้จะเกิดอาการภายใน 2 ชั่วโมง

 

อาการ

  • ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร ต่อมาหลังจาก 6 ชั่วโมง มีอาการเจ็บกล้ามเนื้อ ตับและไตวายและอาจเสียชีวิต

 

วิธีการคัดแยก

  • เห็ดถ่านเลือด หมวก เห็ด ทรงกรวยขนาดใหญ่ สีน้ำตาลเข้มถึงสีดำ ครีบห่างสีเหลืองอมน้ำตาล และมีน้ำยางสีแดงเมื่อผ่าดอกเห็ด
  • เห็ดถ่านเล็กที่รับประทานได้ หมวกเห็ดรูปทรงชามคว่ำขนาดเล็ก สีขาวอมเทาถึงดำ ครีบถี่สีขาว และไม่พบน้ำยางสีแดงเมื่อผ่าดอกเห็ด

 

เห็ดหมวกจีน

 

เห็ดคันร่มพิษ

 

3. เห็ดหมวกจีน และเห็ดคันร่มพิษ มีลักษณะคล้าย เห็ด โคน หรือเห็ดปลวกที่กินได้หลายชนิด และเห็ดหมวกจีนมี พิษ บางชนิด มักขึ้นใกล้กับจอมปลวกเหมือนกับเห็ดโคนทำให้ชาวบ้านเข้าใจผิดว่าเป็นเห็ดโคนกินได้และเกิดเหตุการณ์บ่อยครั้ง เมื่อรับประทาน เห็ดป่า ที่เป็น เห็ดพิษ กลุ่มนี้ผู้ป่วยจะเกิดอาการภายใน 30 นาที - 2 ชั่วโมง

 

อาการ

  • เหงื่อออกมาก น้ำตาไหล น้ำลายไหล  ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงชีพจรเต้นช้า และอาจทำให้เสียชีวิตได้ภายในครึ่งชั่วโมง ส่วนเห็ดคันร่มพิษสร้างสารพิษที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และอาจเกิดสภาวะหายใจลำบาก

 

วิธีการคัดแยก

  • เห็ดหมวกจีน ผิวหมวกเห็ดหยาบ กลางหมวกเห็ดเป็นปุ่มนูน ขอบหมวกฉีกเมื่อบานครีบมีสีเหลืองอมน้ำตาล และสีชมพูอมน้ำตาล
  • เห็ดคันร่มพิษ ผิวเรียบ กลางหมวกเห็ดเป็นปุ่มนูน ครีบมีสีชมพูอมน้ำตาล

 

เห็ดหัวกรวดครีบเขียว

 

4. เห็ดหัวกรวดครีบเขียว เมื่อรับประทาน เห็ดพิษ กลุ่มนี้ผู้ป่วยจะเกิดอาการภายใน 15 นาที - 4 ชั่วโมง

 

อาการ

  • ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เป็นตะคริวที่ท้อง และท้องเสีย

 

วิธีการคัดแยก

  • เห็ดหัวกรวดครีบเขียวหมวกเห็ดทรงชามคว่ำ บริเวณกลางหมวกมีเกล็ดขนาดใหญ่ ครีบมีสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเขียวปนเทาเมื่อแก่ และก้านมีวงแหวนขอบสองชั้น

 

 

การป้องกันการกินเห็ดพิษสามารถทำได้อย่างไร

 

1. ควรรับประทานเห็ดที่รู้จักและต้องมั่นใจจริงๆ ว่าเป็น เห็ด ที่รับประทานได้

2. ควรปรุงเห็ดให้สุกก่อนรับประทาน โดยเฉพาะเห็ดระโงกในระยะไข่

3. ผู้ที่มีอาการภูมิแพ้เกี่ยวกับเห็ดให้หลีกเลี่ยงการรับประทานเห็ด

4. อย่ารับประทานเห็ดพร้อมกับดื่มสุราเพราะเห็ดบางชนิดจะปรากฎอาการ พิษ เมื่อดื่มแอลกอฮอล์

5. เมื่อเกิดอาการพิษจากการรับประทานเห็ดควรรีบพบแพทย์ทันที

 

 

ข้อมูลจาก : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ