Lifestyle

10 วิธี รับมือ "พายุ" เตรียมความพร้อมอย่างไร รู้ไว้ก่อนเกิดอันตราย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แนะนำวิธีการเตรียมตัวรับมือ "พายุ" ฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตราย มีวิธีรับมืออย่างไรบ้าง

ในช่วงที่ผ่านมาหลายพื้นที่ของประเทศไทยได้รับผลกระทบจาก "พายุ" ฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงจากฤดูฝน สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต คมชัดลึกออนไลน์ จึงขอแนะนำวิธีการเตรียมตัวรับมือพายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรงที่อาจจะ เกิดขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากสถานการณ์ดังกล่าวได้ ดังนี้

 

1.อาคารสูงควรติดตั้งสายล่อฟ้าป้องกันฟ้าผ่า

  • สิ่งหนึ่งที่มักมาพร้อมกับพายุ คือ ฝนฟ้าคะนอง มีฟ้าแลบฟ้าร้อง ฟ้าฝ่า ดังนั้นอาคารสูง ที่อยู่ สิ่งที่ควรทำ คือ การติดตั้งสายล่อฟ้าป้องกันฟ้าฝ่า เพื่อลดอันตรายจากการฟ้าฝ่า

 

2.ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเกิดฝนฟ้าคะนอง 

  • อุปกรณ์ไฟฟ้ามักจะมีโลหะที่เป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง เมื่อเกิดฝนฟ้าคะนองนอกจากจะเสี่ยงทำให้เกิดอันตรายเสี่ยงต่อฟ้าฝ่าแล้ว ยังอาจจะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้านั้นเสียหายได้เหมือนกัน ทางที่ดีจึงควรงดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง

3.ติดตั้งสายดินที่อุปกรณ์ไฟฟ้า รับมือ "พายุ"

  • การไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง เป็นวิธีป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่าง ๆ จากฝนฟ้าคะนองได้ดีระดับหนึ่ง แต่เพื่อเป็นการป้องกันในภาพรวมทั้งหมด ควรติดตั้งสายดินที่อุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อลดอันตรายต่าง ๆ ได้แม้จะเป็นในยามปกติด้วย

 

4.ไม่ติดตั้งเสาอากาศวิทยุ - โทรทัศน์ใกล้สายไฟฟ้า

  • เดี๋ยวนี้หลายบ้านอาจจะไม่ได้มีการติดตั้งเสาอากาศวิทยุ หรือเสาอากาศโทรทัศน์กันแล้ว แต่ก็อาจจะมีบางพื้นที่ที่จำเป็นต้องติดตั้งเสาอากาศอยู่ การติดตั้งที่ปลอดภัยจะต้องไม่อยู่ในจุดที่ใกล้กับสายไฟฟ้า เพราะมีโอกาสที่จะเกิดอันตรายและเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้าในช่วงฝนฟ้าคะนองได้ด้วย

 

5.ตรวจสอบความแข็งแรงของบ้าน,โครงสร้าง - ส่วนต่อเติม​

  • สิ่งที่แต่ละบ้านควรทำ คือ การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคารบ้านเรือน รวมถึงส่วนที่มีการต่อเติมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงจอดรถ กันสาด หรือแม้แต่โครงสร้างของบ้านในจุดต่าง ๆ หากพบว่ามีส่วนใดชำรุด หรือไม่แข็งแรงเพียงพอ จะต้องรีบดำเนินการ เพราะเมื่อมีพายุเข้ามาจะได้ไม่เกิดความเสียหาย หรืออันตราย

6.สำรวจต้นไม้รอบบ้าน - ตัดแต่งกิ่งไม้ให้เรียบร้อยพร้อมรับมือ "พายุ"

  • นอกจากตัวบ้านที่ต้องมีความแข็งแรงแล้ว สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลย คือ ต้นไม้ใหญ่บริเวณรอบบ้านที่จะต้องตรวจสอบดูด้วยว่ามีกิ่งแห้ง หรือกิ่งไม้ที่อยู่ใกล้กับตัวบ้าน หรืออาคารหรือไม่ เราต้องตัดแต่งกิ่งไม้เหล่านั้น เพื่อที่จะลดความเสี่ยงจากการหักโคนลงมาทำอันตรายต่อตัวบ้าน หรือส่วนต่าง ๆ ของอาคาร

 

7.จัดเก็บสิ่งของรอบบ้านที่อาจเสียหาย

  • สิ่งของที่อยู่รอบบ้านที่อาจจะถูกแรงลมพัดหรือเปียกฝนได้ ต้องจัดเก็บหรือทำให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง ไม่อย่างนั้นลมฝนหรือพายุจะสร้างความเสียหายต่อสิ่งของต่าง ๆ ได้

 

8.ติดตามข่าวสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • การติดตามข่าวสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุตุวิทยา ก็เป็นวิธีการเตรียมความพร้อมในการรับมือพายุได้เป็นอย่างดี เพราะบางครั้งอาจจะเกิดเหตุการณ์ขึ้นแบบกะทันหัน รวมถึงเราควรปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

 

9.จัดเตรียมอุปกรณ์ - ของจำเป็นไว้ใช้ยามฉุกเฉิน

  • บางครั้งเหตุการณ์อาจจะรุนแรง หรือเกิดสถานการณ์ที่เราไม่คาดคิด การจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นเอาไว้ในยามฉุกเฉินเพื่อรอการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่จึงเป็นสิ่งจำเป็น อุปกรณ์และของจำเป็นต่าง ๆ ก็เป็นพวกสิ่งของที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต เช่น อาหารแห้ง น้ำดื่ม ยารักษาโรคพื้นฐาน และยาประจำที่ต้องกินสำหรับคนมีโรคประจำตัว ไฟฉาย เครื่องให้ความอบอุ่นของร่างกาย และของจำเป็นเพื่อการดำรงชีวิต

 

10.กรณีอยู่กลางแจ้ง ควรเข้าไปในอาคารหรือที่กำบังที่มั่นคงแข็งแรง

  • กรณีไม่ได้อยู่ที่บ้านและต้องอยู่กลางแจ้ง ให้รีบเข้าไปในอาคารหรือที่กำบังที่มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันอันตรายจากลมแรงและฟ้าผ่า ไม่หลบพายุในพื้นที่เสี่ยงอันตราย โดยเฉพาะบริเวณต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้า หรือสิ่งปลูกสร้างไม่มั่นคงแข็งแรง หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า

 

  • อยู่ให้ห่างจากวัตถุที่เป็นโลหะหรือสื่อนำไฟฟ้า เช่น รางรถไฟ เพิงสังกะสี รั้วลวดหนาม ประตูโลหะ งดใช้เครื่องมือสื่อสารและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เพราะแบตเตอรี่มีส่วนผสมของโลหะจะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้า ทำให้เสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า ไม่พกพาหรือสวมใส่เครื่องประดับที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า เช่น เงิน ทอง นาก ทองแดง และร่มที่มียอดเป็นโลหะ

 

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่

Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/

YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ