Lifestyle

"วาเลนไทน์” 2565 หรือวันไหนๆ ต้อง "มีเซ็กส์" อย่างไร? ถึงเรียกว่าปลอดภัย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

การ "มีเซ็กส์" ไม่ว่าจะเป็นวันแห่งความรักหรือวันไหนๆ นั้นไม่ใช่เรื่องผิด ขอเพียงให้ถูกคู่ ถูกเวลา และถูกกาลเทศะเท่านั้น แต่การจะ “มีเซ็กส์อย่างไรให้ปลอดภัย” คำตอบที่ได้น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของทุกๆ คู่รัก

พอใกล้ถึง “วันแห่งความรัก” หรือ “วันวาเลนไทน์” หลายคนก็โฟกัสไปที่เรื่อง “เซ็กส์” ที่มักมาควบคู่กับเรื่องรักเสมอ แต่การ "มีเซ็กส์" ไม่ว่าจะเป็นวันแห่งความรักหรือวันไหนๆ นั้นไม่ใช่เรื่องผิด ขอเพียงให้ถูกคู่ ถูกเวลา และถูกกาลเทศะเท่านั้น แต่การจะ “มีเซ็กส์อย่างไรให้ปลอดภัย” คำตอบที่ได้น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของทุกๆ คู่รัก

 

ในการมีเซ็กส์มีอุปกรณ์หลากหลายที่สามารถใช้เพื่อป้องกันตัวเองขณะมีได้ แต่ว่าอุปกรณ์แต่ละอย่างมีวิธีใช้ที่ต่างกันและมีข้อจำกัดที่ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นก่อนที่เราจะใช้อุปกรณ์เหล่านี้ มาทำความเข้าใจกับอุปกรณ์เหล่านี้ให้ดีก่อน เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าควรใช้เมื่อไหร่ และสถานการณ์ไหน

 

-ถุงยางอนามัย

 

ใส่ถุงยางให้ถูกวิธีทำยังไง?

 

ขั้นที่ 1 : ใส่ถุงยางตอนจู๋แข็งเต็มที่ ใช้มือค่อยๆ ฉีกถุงยางออกจากซอง ห้ามใช้ฟันฉีกเพราะอาจพลาดทำให้ถุงยางรั่วหรือฉีกขาดได้ ใช้นิ้วบีบปลายถุงยางเพื่อไล่อากาศแล้วสวมลงตรงหัว การรูดถุงยางจนสุดแล้วใส่เป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องเพราะอาจทำให้ถุงยางฉีกขาด

 

ขั้นที่ 2 : ค่อยๆ รูดถุงยางลงจนถึงโคน การรูดให้ชิดโคนให้มากที่สุดช่วยให้ถุงยางไม่หลุดขณะมีเพศสัมพันธ์ จากนั้นทาเจลหล่อลื่นชนิดน้ำให้ทั่วถุงยาง และอย่าลืมลงเจลที่ตูดฝ่ายรับให้ชุ่มด้วย

 

ขั้นที่ 3 : เช็คความเรียบร้อยถุงยางเป็นระยะระหว่าง "มีเซ็กส์" ดูให้แน่ใจว่าไม่หลุด ไม่รั่ว ไม่ขาด ถ้าเอานานควรเพิ่มเจลบ่อยๆ เวลาเอาจู๋ออกให้กำรอบโคนเพื่อให้ถุงยางออกมาพร้อมกัน และต้องเอาออกตอนจู๋ยังไม่อ่อน

 

ประสิทธิภาพในการป้องกันของถุงยางลดลง เมื่อ :

 

  • ใส่ไม่ถูกวิธี
  • รูดถุงยางจนสุดแล้วใส่
  • ใช้ของเหลวที่มีส่วนผสมของน้ำมัน ครีม โลชั่น หรือแชมพู เป็นสารหล่อลื่นขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ใช้สารหล่อลื่นน้อยเกินไป
  • ใช้สารหล่อลื่นในบริเวณที่ไม่ควรใช้ เช่น ทารอบจู๋ก่อนใส่ถุงยาง ไม่ทาสารหล่อลื่นบริเวณรอบๆและด้านในรูตูด
  • มีเซ็กส์นานและไม่เปลี่ยนถุงยาง
  • ใช้ถุงยางหมดอายุ (อย่าลืมตรวจสอบวันหมดอายุบนซองถุงยางก่อนใช้ทุกครั้ง)
  • ใช้ถุงยางผิดขนาด

– ยาเพร็พ (PrEP)

 

ยาเพร็พคืออะไร

 

ยาเพร็พ (PrEP) หรือยาป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อ (Pre-Exposure Prophylaxis) เป็นรูปแบบใหม่ของการป้องกันการรับเชื้อเอชไอวี โดยการให้ยาต้านแก่ผู้ที่ไม่มีเชื้อเอชไอวี เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อในกรณีที่มีการสัมผัสเชื้อ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการป้องกันเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพ

 

วิธีกินยาเพร็พ

วิธีกินยาเพร็พ 2 แบบ คือ

  • เพร็พกินแบบรายวัน กินทุกวัน วันละเม็ด เวลาเดิม(เวลากำหนดเองได้) แล้วทานต่อเนื่องวันละ 1 เม็ด แต่ต้องกินยาอย่างน้อย 7 วันถึงจะสามารถป้องกันเอชไอวีได้อย่างเต็มที่
  • เพร็พกินแบบเมื่อต้องการ สำหรับผู้ที่วางแผนการมีเซ็กส์ได้ หรือว่ามีเซ็กส์ไม่บ่อย มีเป็นช่วงๆ กินเฉพาะช่วงที่จะมีเซ็กส์ โดยกิน 2 เม็ด 2-24 ชั่วโมงก่อนมีเซ็กส์ แล้วกินวันละ 1 เม็ดจนถึงวันที่จะมีเซ็กส์ครั้งสุดท้ายในช่วงนั้น เสร็จแล้วปิดท้ายด้วยการกินวันละ 1 เม็ด อีก 2 วันหลังเซ็กส์ครั้งสุดท้าย

 

ถ้ากินยาเพร็พแล้ว ยังต้องใช้ถุงยางไหม?

 

การตัดสินใจใช้หรือไม่ใช้ถุงยางเมื่อกินยาเพร็พแล้วขึ้นอยู่กับคุณและคู่ของคุณ ที่ควรร่วมกันตัดสินใจว่า “ต้อง” ใช้ถุงยางอยู่หรือไม่ ถุงยางอนามัยเป็นเครื่องมือป้องกันเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพ แต่ในทางปฏิบัติ การใช้ถุงยางทุกครั้งกับทุกคนอาจทำได้ยาก ยาเพร็พจึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกใหม่ที่ในการป้องกันเอชไอวี

 

แม้ว่ายาเพร็พจะช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้แต่ก็ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น หนองในแท้ หนองในเทียม ซิฟิลิส ถุงยางอนามัยยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ

 

ยาเพร็พป้องกันเอชไอวีได้อย่างไร?

 

เมื่อเรากินยาเพร็พเข้าไป ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการออกฤทธิ์ป้องกันในร่างกาย ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าระยะเวลาตั้งแต่เริ่มกินยาเพร็พจนกระทั่งออกฤทธิ์ป้องกันควรเป็นเท่าใด ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา โดยทั่วไปในกลุ่มเกย์/ชายรักชาย ยาเพร็พจะออกฤทธิ์ป้องกันบริเวณเนื้อเยื่อในช่องทวารหนักหลังจากที่กินยาครบและต่อเนื่องประมาณ 7 วัน

 

ยาเพร็พมีผลข้างเคียงหรือไม่? มีผลกระทบต่อร่างกายมากน้อยแค่ไหน?

 

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในระยะ 2-3 สัปดาห์หลังจากเริ่มกินยาเพร็พ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เมื่อยล้า เวียนหัว ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่พบได้ทั่วไปในผู้ที่เริ่มกินยาเพร็พ และจะค่อยๆ หายไปเอง

 

 

–ยาเป็ป (PEP)

 

ยาเป๊ปคืออะไร?

 

ยาเป๊บ หรือยาป้องกันหลังการสัมผัสเชื้อ เป็นยาต้านไวรัสที่ช่วยลดโอกาสในการสร้างไวรัสเอชไอวีในร่างกายหลังจากสัมผัสเชื้อ ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือคิดว่าอาจได้รับเชื้อเอชไอวีจะต้องเริ่มรับประทานยาเป๊บให้เร็วที่สุด ภายใน 72 ชั่วโมงหลังการสัมผัสเชื้อ ยิ่งเริ่มใช้ยาเร็วเท่าไหร่ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการป้องกันการติดเชื้อก็มีมากขึ้นเท่านั้น และจะต้องกินวันละครั้งติดต่อกัน 4 สัปดาห์ หากกินยาถูกวิธี ยาจะมีประสิทธิภาพมาก แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะป้องกันการติดเชื้อได้ 100%

 

ยาเพร็พ (PrEP) กับยาเป๊ป (PEP) ต่างกันอย่างไร?

 

ยาเพร็พและยาเป๊บเป็นยาคนละชนิดกัน ยาเป๊บคือยาป้องกันการติดเชื้อที่ต้องกินภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อเอชไอวี และจะต้องกินติดต่อกันนาน 28 วัน ส่วนยาเพร็พเป็นยาป้องกันสำหรับผู้มีผลเลือดลบที่ต้องกินวันละเม็ดทุกวันก่อนสัมผัสเชื้อเอชไอวีเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และยาจะมีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันเชื้อเอชไอวีเมื่อกินอย่างน้อย 7 วัน

 

ยาเป๊ปได้ผล 100% ในการป้องกันเชื้อเอชไอวีหรือเปล่า?

 

ยาเป๊บเป็นยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพ แต่ไม่สามารถป้องกันได้ 100% ดังนั้นคุณจึงยังต้องใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างที่กินยาเป๊บด้วย เพื่อป้องกันการสัมผัสเชื้อเอชไอวี รวมทั้งลดโอกาสแพร่เชื้อเอชไอวีให้คนอื่นหากคุณติดเชื้อระหว่างกินยาเป๊บ

 

ยาเป๊ปมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง?

 

ยาเป๊บเป็นยาที่ปลอดภัยแต่มีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก บางรายอาจมีอาการท้องเสีย ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน และอิดโรย อาการเหล่านี้ไม่เป็นอันตรายและสามารถรักษาได้

 

ที่มาข้อมูล : https://www.testbkk.org/

logoline