Lifestyle

"ปวดหลัง" สัญญาณบอกหลายโรคที่ไม่ควรมองข้าม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ปวดหลัง" เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยทั่วไปในทุกเพศทุกวัย ซึ่งอาการปวดหลัง ในแต่ละบริเวณก็จะมีสาเหตุของการปวดที่แตกต่างกันไป ปวดหลังยังอาจบ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่างที่ร่างกายส่งสัญญาณเตือนออกมาจึงนิ่งนอนใจไม่ได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิด "ปวดหลัง"  มีอะไรบ้าง

  • ที่นอนที่แข็งหรือนิ่มเกินไป ไม่ถูกต้องตามสรีระ
  • ยกของหนัก ถือของหนัก ก้มยกของผิดวิธี
  • การสูบบุหรี่
  • ภาวะกระดูกพรุนหรือบาง
  • ภาวะอ้วน หรือน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ส่งผลใหห้มอนรองกระดูกสันหลังและก้นกบรับภาระมากกว่าจุดอื่น
  • ออฟฟิศซินโดรม นั่งทำงานนาน ๆ หรือท่าทางในการเคลื่อนไหวผิดปกติ



อาการ "ปวดหลัง" แต่ละส่วนเกิดมาจากอะไร
ปวดหลังส่วนบน
อาการปวดหลังส่วนบน อาจมีสาเหตุมาจากการก้มเล่นมือถือนานๆ หรือการแบกกระเป๋าหนักเช่น ชอบสะพายกระเป๋าหนักๆ ข้างเดียว


ปวดหลังส่วนกลาง
อาการปวดหลังส่วนกลาง อาจเกิดจากการก้มยกของหนัก นอนเตียงนุ่มหรือแข็งเกินไป

ปวดหลังส่วนล่าง
อาการปวดหลังส่วนล่าง อาจมีสาเหตุมาจากน้ำหนักตัวเยอะเกินไป การยืนหรือนั่งนานๆ

"ปวดหลัง" สัญญาณนี้บอกถึงอะไรได้บ้าง

ปวดหลังจากการยกของหนัก : กล้ามเนื้ออักเสบ กระดูกหรือหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน

ปวดแนวกระดูกกลางหลัง : มีปัญหาที่หมอนรองกระดูกสันหลัง หรือข้อต่อกระดูกสันหลัง

ปวดหลังเยื้องออกมาด้านข้าง : กล้ามเนื้อหลังมีความผิดปกติ

ปวดร่วมกับมีอาการชา-อ่อนแรง : ระบบประสาทเส้นประสาทผิดปกติ

ปวดร้าวเหมือนไฟฟ้าช็อต : เส้นประสาทอาจถูกกดเบียด

ปวดหลังแบบล้าๆ เมื่อยๆ : อาจเกิดจากกล้ามเนื้อ

 

"ปวดหลัง"ระดับไหน...ควรรีบไปพบแพทย์

แน่นอนว่าโรคเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง แต่ใช่ว่าทุกคนจะมีอาการปวดในระดับเดียวกัน จึงไม่ควรชะล่าใจ ปล่อยให้ความเจ็บปวดอยู่กับเรานาน โดยระดับความเจ็บปวดจากอาการปวดหลังนั้น เริ่มตั้งแต่ไม่รุนแรง เช่น ปวดเมื่อยตามตัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไปถึงขั้นรุนแรงจนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อาการปวดร้าวลงขา ปวดคล้ายเข็มทิ่ม หรือปวดแบบเสียวแปลบ ที่สำคัญ คือ หากมีอาการปวดนานเรื้อรัง มีอ่อนแรงหรือชา มีไข้ ปวดกลางคืนนอนพักไม่หาย มีปัญหาขับถ่ายผิดปกติร่วม ควรรีบปรึกษาแพทย์ 

ปวดหลัง...หายได้ หากรักษาตรงจุด

หลังจากที่เราทราบแล้วว่าเรามีอาการอย่างไร ก็เริ่มเข้าสู่กระบวนการการรักษาที่ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งการรักษาเบื้องต้นสำหรับอาการปวดที่ไม่รุนแรง อาจแค่รับประทานยาแก้ปวดหรือยาคลายกล้ามเนื้อ หรือการทำกายภาพบำบัด แต่ถ้าอาการปวดเพิ่มมากขึ้นจนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ลุก, นั่ง, ยืน, เดินลำบาก อาจต้องรักษาโดยการฉีดยาเข้าเส้นประสาทสันหลัง หรือการผ่าตัดแบบแผลเล็ก หลังจากการผ่าตัดต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 1-3 วัน ซึ่งควรได้รับคำแนะนำจากทีมแพทย์ที่ชำนาญโดยเฉพาะ

เราทุกคนสามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลังได้ ด้วยการหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เป็นอันตรายต่อหลัง เช่น ยกของหนัก แบกของหนัก และควรหมั่นออกกำลังกายเพื่อรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับรูปร่างของเรา เพราะแม้ว่าปัจจุบันวิวัฒนาการทางการแพทย์จะก้าวหน้าไปไกลแล้วก็ตาม แต่ถ้าเราดูแลตัวเองได้ดี รักษาร่างกายให้พร้อมใช้ชีวิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แบบนั้นย่อมดีกว่าแน่

ที่มาข้อมูล:
โรงพยาบาลพญาไท

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ