Lifestyle

“วันดินโลก” โดยยูเนสโก จากพระอัจฉริยภาพ ร.9 กับการแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 “วันดินโลก” นับแต่พ.ศ. 2555 สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ เทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพ รัชกาลที่ 9 ที่ทรงจัดการทรัพยากรดินเป็นที่ประจักษ์ จึงขอพระราชทานวันที่ 5 ธันวาคมเป็น "วันดินโลก"

พ.ศ. 2493 หลังจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงได้ทรงงานด้านการพัฒนาในทันที และด้วยการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในต่างจังหวัดและทุกสภาพพื้น ไม่ว่าจะยากลำบากทุรกันดารอย่างไร และการการเสด็จฯ ต่างจังหวัดตัวพระองเอง ทำให้ทรงรับรู้ถึงปัญหาของเกษตรกรที่ แร้นแค้นเนื่องจากทำอาชีพทางการเกษตรไม่สัมฤทธิ์ผล และได้ริเริ่มการ "พัฒนาดิน" ตั้งแต่ครั้งพระองค์เสด็จประพาสพื้นที่ เขาเต่า อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปี พ.ศ. 2506 ปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน กล่าว

 

จุดเริ้มต้นการสนพระราชหฤทัยในการพัฒนาดิน

อดีต-ปัจจุบัน โครงการอ่างเก็บน้ำเขาเต่าฯ

เวลานั้น นายสิริพงศ์ บุญหลง ซึ่งเกี่ยวข้องอยู่กับ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO  และ มีตำแหน่งอยู่ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ได้นำ มร.แฟรงค์ อาร์ มอร์แมน นักวิทยาศาสตร์ดินชาวฮอลแลนด์จาก FAO เข้าเฝ้าฯ ณ เขาเต่า ดร.มอร์แมนได้เจาะ ดิน ถวายให้ทอดพระเนตร และถวายรายงานให้ทรงทราบว่า ดินบริเวณนี้ไม่ดี เป็นทั้งดินเปรี้ยวและดินเค็ม ทำให้ทรงรู้จักดินประเภทนี้ตั้งแต่ตอนนั้น และทรงให้ความสนใจเรื่องดินมากขึ้นหลังจากดร.มอร์แมนได้อธิบายให้ทรงทราบถึงความแตกต่างของดินประเภทต่าง ๆ  

กรมพัฒนาที่ดิน
 

“วันดินโลก” โดยยูเนสโก จากพระอัจฉริยภาพ ร.9 กับการแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรม


สมัยก่อนรัชกาลที่ 9 ทรงให้หน่วยงาน กรมพัฒนาที่ดิน ทำหน้าที่เป็น กองสำรวจและศึกษาสภาพดินเพื่อสำรวจดินทั่วประเทศ เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็จะถวายรายงาน จากนั้นท่านจึงวินิจฉัยว่า จุดไหนทำการเกษตรได้ จุดไหนควรแก้ไข จากการสำรวจและศึกษาที่ทำให้เข้าใจสภาพดินที่มีปัญหาต่อการทำการเกษตรของชาวบ้านนี้เองที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงแบกรับไว้เพื่อหาวิธีแก้ไขผ่านโครงการพระราชดำริต่าง ๆ

รศ.พิเศษ เล็ก มอญเจริญ อดีตข้าราชการกรมพัฒนาที่ดิน ที่เคยถวายงานสนองพระบาทตั้งแต่ยุคแรกๆ ของโครงการพระราชดำริหนองพลับ-กลัดหลวง กล่าว

"โครงการของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทั้งหมด ไม่ว่าจะชี้ไปที่ไหน เป็นดินที่มีปัญหาทั้งนั้น การเข้าไปแก้ปัญหาเรื่องดินอย่างจริงจัง จึงแสดงถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่าน" 

 

ตัวอย่างโครงการพระราชดำริที่เข้าถึงแก่นของปัญหา "ความเสื่อมโทรมของดิน"

“วันดินโลก” โดยยูเนสโก จากพระอัจฉริยภาพ ร.9 กับการแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรม

โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (จังหวัดฉะเชิงเทรา) ซึ่งราษฎรได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน จำนวน 264 ไร่ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2522 เพื่อสร้างพระตำหนัก แต่พื้นที่ดังกล่าว ราษฎรใช้ปลูกมันสำปะหลังต่อเนื่องหลายสิบปี โดยปราศจากการทำนุบำรุงดินที่เหมาะสม สภาพดินทั่วไปในวงวิชาการเรียกว่า ชุดดินสัตหีบ หรือ ชุดดินจันทึก ดินเสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ อุ้มน้ำได้น้อย ปลูกอะไรก็ไม่ค่อยขึ้น

 

ก่อน พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จะทรงรับเอาที่ดินเข้าไว้ในโครงการ ทรงถามราษฎรที่น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินว่า หากไม่สร้างตำหนัก แต่สร้างเป็นสถานที่ศึกษาเกี่ยวกับการเกษตรจะเอาไหม เมื่อราษฎรตอบว่ายินดียิ่ง จึงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า

"ถ้าหากบอกว่าดินไม่ดี ไม่ช่วย ไม่ทำ ลงท้ายประเทศไทยทั้งประเทศจะกลายเป็นทะเลทรายหมด"

ในเอกสารที่พระราชทานแก่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการพระราชดำริ(กปร.) ทรงบันทึกและวิเคราะห์อย่างแยบยล เป็นแนวทางพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ความว่า

"เป็นดินทราย มีแร่ธาตุน้อย ที่ดินที่อยู่ในร่องห้วย มีคุณภาพพอใช้ได้ ไม่มีปัญหามาก ใช้ปุ๋ยตามปกติ ที่บนเนินปรากฏว่าเป็นทราย ดินดาน และหิน ต้องปลูกหญ้าตามแนวระดับ เพื่อยึดดินและให้เกิดปุ๋ยอินทรีย์ ดิน(ทราย)ที่ไม่ปลูกหญ้า ถูกชะล้างเมื่อฝนตก ปลูกต้นไม้นานาชนิดเพื่อรักษาความชุ่มชื้น"

 

โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝก

“วันดินโลก” โดยยูเนสโก จากพระอัจฉริยภาพ ร.9 กับการแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรม

เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2534 แก่ สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการสำนักงาน กปร.ในขณะนั้น

ทรงให้ศึกษาทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อเก็บความชุ่มชื้นไว้ในดินและป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน สาเหตุสำคัญที่ทำให้ดินเสื่อมโทรม สูญเสียธาตุอาหาร ปลูกพืชไม่ขึ้น เกิดสภาพแห้งแล้งจะพบมากในบริเวณที่ดินเชิงเขาซึ่งมีความลาดชัน ณ โครงการศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (จังหวัดราชบุรี) พื้นที่ส่วนใหญ่จากสภาพดินลูกรังแห้งแล้ง พื้นที่ลาดเท และหลังจากขุดร่องเพื่อปลูกหญ้าแฝกหลังจากผ่านฤดูฝนแล้วนั้น พื้นที่ด้านบนจากที่เคยเห็นเป็นสีแดงของดินลูกรัง ต้นหญ้าก็เริ่มงอกงาม แสดงให้เห็นว่ารากหญ้าแฝกอุ้มน้ำเอาไว้อย่างดี

 

รางวัลวิทยาศาสตร์ทางดินเพื่อมนุษยธรรม
 

“วันดินโลก” โดยยูเนสโก จากพระอัจฉริยภาพ ร.9 กับการแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรม

ด้วยพระปรีชาสามารถและพระราชกรณียกิจด้านการบริหารจัดการทรัพยากรดินอันเป็นที่ประจักษ์ สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (IUSS) ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล วิทยาศาสตร์ทางดินเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Soil Scientist) แด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระองค์แรกของโลกเพื่อสดุดีพระเกียรติคุณเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2555 และขอพระราชทานวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเสด็จพระบรมราชสมภพของพระองค์ เป็น วันดินโลก (World Soil Day) เพื่อให้วันดังกล่าวเป็นที่รู้จักแพร่หลายในระดับนานาชาติ เกิดความต่อเนื่องและจริงจังในการรณรงค์ด้านทรัพยากรดินในทุกระดับ



ที่มารูปภาพและข้อมูล :

กรุงเทพธุรกิจ
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ