Lifestyle

ลองโควิด (Long COVID) ผลกระทบระยะยาวจากโรคโควิด-19

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา บอก Long COVID คืออาการที่ยังพบหลังจากติดเชื้อไปแล้ว 4 สัปดาห์ว่าภาวะ ‘โพสต์โควิด’ (Post-COVID Conditions) หรือ ‘ลองโควิด’ (Long COVID)  โดยประกาศให้ เป็นความทุพพลภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ผู้ที่ป่วย "ลองโควิด" พบว่ามีความผิดปกติทางสรีรวิทยาและระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบไหลเวียนโลหิต สำหรับความบกพร่องทางจิตนั้น รวมไปถึงความเครียด สะเทือนใจ และความผิดปกติทางจิตใจและอารมณ์

 

อาการลองโควิด (Long COVID)

  • ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะลองโควิด แต่ในส่วนของลักษณะอาการแสดงนั้น มีดังนี้
  • หายใจลำบากหรือหายใจถี่
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • อาการแย่ลงหลังจากทำกิจกรรมต่างๆ   
  • มีปัญหาในการคิด ขาดสมาธิ  
  • ไอ เจ็บหน้าอก
  • ปวดท้อง ท้องเสีย
  • ปวดศีรษะ วิงเวียน
  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
  • ปวดข้อหรือกล้ามเนื้อ
  • นอนไม่หลับ
  • มีไข้
  • ผื่นขึ้น
  • อารมณ์แปรปรวน
  • การได้กลิ่นหรือรับรสผิดเพี้ยน
  • ประจำเดือนไม่ปกติ

ผลข้างเคียงต่ออวัยวะและผลกระทบจากการรักษาโรคโควิด-19

ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรงจากโรคโควิด-19 จะส่งผลข้างเคียงต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงภูมิต้านทาน ซึ่งอาจมีอาการนานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนหลังจากเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19 ผลกระทบสามารถส่งผลแทรกซ้อนต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย ทั้งหัวใจ ปอด ไต ผิวหนัง และสมอง ทั้งนี้ยังส่งผลให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นโจมตีเซลล์ที่มีสุขภาพดีในร่างกายโดยไม่ได้ตั้งใจ เกิดภาวะอักเสบของอวัยวะหลายระบบ (Multisystem Inflammatory Syndrome: MIS)  ทำให้มีอาการไข้ ถ่ายเหลว ช็อก และไตวาย  ซึ่งมักพบอาการหลังหายป่วยจากโรคโควิด-19  แล้วประมาณ 2-4 สัปดาห์  

                 ลองโควิด (Long COVID) ผลกระทบระยะยาวจากโรคโควิด-19

นอกจากนี้การเจ็บป่วยหรือการรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยเฉพาะผู้ป่วยรุนแรงที่ต้องรักษาในห้องผู้ป่วยหนัก หรือห้องไอซียู (ICU) อาจเกิดภาวะ ‘หลัง ICU’ (Post-Intensive Care Syndrome: PICS)  กระทบต่อสุขภาพ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง  มีปัญหาเกี่ยวกับการคิดและการตัดสิน รวมถึงภาวะเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD) ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการเยียวยาและฟื้นฟู

การรักษาภาวะลองโควิด

อาการจากผลกระทบหลังการรักษาตัวในโรงพยาบาลมีความคล้ายคลึงกับอาการของผู้ป่วยเนื่องจากไวรัส หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรสังเกตตัวเองหลังกลับจากโรงพยาบาล โดยปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยแยกออกจากโรคอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะทำการซักประวัติ สอบถามอาการและผลกระทบที่มีต่อชีวิต ตรวจร่างกาย  อาจมีการส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจเลือด ตรวจความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ ตรวจการทำงานของหัวใจ เอกซเรย์ปอด ตรวจสมรรถภาพปอด ตรวจหาค่าการอักเสบของร่างกาย และอื่นๆ เพื่อทำการรักษาตามอาการอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพที่สุด 
 

กรณีอาการเจ็บป่วยส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต แพทย์อาจพิจารณาส่งต่อไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการฟื้นฟูสภาพจิตใจ



ที่มาข้อมูล:
นพ. กิตติพงษ์ คงจันทร์
www.samitivejhospitals.com/th/

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง