Lifestyle

"เกาลัด"หวานมันและประโยชน์ต่อสุขภาพ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 "เกาลัด"  หรือchestnut    ในภาษาจีนเรียกว่า  เลียกก้วย, ไต่เลียก ,  หรือ ปังเลียก   เป็นพืชเมล็ดเปลือกแข็ง  ที่มีคาร์โบไฮเดรตหรือแป้งเป็นส่วนประกอบ อุดมด้วยวิตามินบี มีแร่ธาตุ  โพแทสเซียม และกรดโฟลิก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ 

" เกาลัด"   ลักษณะของผล  ค่อนข้างกลม  สีเขียวมีขนแหลม  เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลและแตกออก  ภายในมีเมล็ด  การใช้ประโยชน์อยู่ที่เนื้อในเมล็ด  ในประเทศจีนนิยมรับประทานเกาลัดทั้งดิบและสุก  ชาวจีนถือว่าเกาลัดเป็น  “ราชาแห่งเมล็ดพันธุ์พืช”  จึงมีการปลูกอย่างแพร่หลายในจีน และผลิตสำหรับส่งออก

 


"เกาลัด" เป็นที่นิยมต่อการบริโภคในจีน  และญี่ปุ่น   ขณะที่ในไทย   การบริโภคเกาลัด   ยังไม่ถึงขั้นเป็นที่แพร่หลาย ในการรับประทานใช้วิธีการคือ  นำไปคั่วและแกะเปลือกสีน้ำตาลดำออกมา  จะพบกับเนื้อในที่เป็นสีขาวขุ่น   มีรสชาติหวานมัน 


ที่มาของการรับประทาน"เกาลัด"ที่คุ้นเคยมากที่สุด คือ เกาลัด ที่ผ่านการคั่ว   โดยเป็นการคั่วในเม็ดทรายขนาด  3-5 มิลลิเมตร เป็นทรายที่ใช้ในการก่อสร้าง   เมื่อทรายร้อนระอุ   จนเป็นสีดำ ก็จะนำเอาลูกเกาลัดใส่ลงไป 

 

ผู้ค้าบางรายเติมน้ำตาลทรายลงไป  และคั่วรวมกันให้ได้รสหวาน บางร้านเพิ่มกลิ่นหอมด้วยการใส่เมล็ดกาแฟคั่วลงไป  การใช้เม็ดทรายในการคั่วเกาลัด     เพราะทรายสามารถเก็บความร้อนไว้ได้นาน ซึ่งดีสำหรับการคั่วทำให้เกาลัดสุกถึงเนื้อ ด้านใน การคั่วเกาลัด ใช้เวลา ระหว่าง 30 -40 นาที  ก็จะทำให้เนื้อภายในสุก
 


ประโยชน์จากการรับประทานเกาลัด คือ  บำรุงไต กล้ามเนื้อ ม้าม และกระเพาะอาหาร แก้ร่างกายอ่อนแอ     แก้ไอ ละลายเสมหะ แก้อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเดิน
ห้ามเลือด ช่วยการไหลเวียนโลหิต     แก้อาการถ่ายเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล    แก้วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และอาเจียนเป็นเลือด


การรับประทานเกาลัด ในรูปแบบของการเป็นยา    ตามสูตรแพทย์แผนจีน สามารถทำได้  อาทิ   รับประทานเกาลัดแห้ง 7 เมล็ดต่อวัน กับโจ๊กไตหมู  สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดหลังและปวดเท้าได้ หรือรับประทานเกาลัดดิบ แก้คออักเสบ

 

 

 


เผาเปลือกเกาลัด  แล้วนำมาบดเป็นผงให้ได้ 6 กรัม ผสมกับน้ำผึ้ง 30 กรัม   รับประทานเป็นยารักษาริดสีดวงทวาร  ,  ต้มเกาลัด 60 กรัมกับพุทราจีนแห้ง 4 ผล และหมูเนื้อแดง รับประทาน บำบัดอาการหอบหืดหรือไอ

 

สำหรับผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคเกาลัด  ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร  เช่น  ท้องอืดบ่อย ๆ อาหารไม่ย่อย   ควรหลีกเลี่ยง ,  ผู้ที่เป็นโรคไขข้ออักเสบ  ร้อนใน  ตาบวม  ไม่ควรรับประทานเพราะถือว่าเป็นของแสลง 

 

 

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก  http://www.chinatownyaowarach.com/

ภาพประกอบจาก  https://pixabay.com/th/

 

\"เกาลัด\"หวานมันและประโยชน์ต่อสุขภาพ

 

\"เกาลัด\"หวานมันและประโยชน์ต่อสุขภาพ

 

\"เกาลัด\"หวานมันและประโยชน์ต่อสุขภาพ

\"เกาลัด\"หวานมันและประโยชน์ต่อสุขภาพ

 

 

 

 

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ