Lifestyle

สนพ.ร่วม กฟผ.-กฟภ.เร่งสร้างความรู้ "โครงข่ายสมาร์ทกริด"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

.

สนพ.ร่วม กฟผ.-กฟภ.เร่งสร้างความรู้ “โครงข่ายสมาร์ทกริด” ที่ อยุธยา ชี้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิการใช้ไฟฟ้าอนาคต

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จัดสัมมนาให้ความรู้เรื่อง“สมาร์ทกริด (Smart Grid) ระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อเมืองอนาคต”ซึ่งระบบสมาร์ทกริดช่วยเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการพลังงานในอนาคตให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น

สนพ.ร่วม กฟผ.-กฟภ.เร่งสร้างความรู้ \"โครงข่ายสมาร์ทกริด\"

ดร.วีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู ผู้อำนวยการกองนโยบายไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การขับเคลื่อนความรู้ตามแผนพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศสู่ภาคประชาชนมีความสำคัญมาก สนพ.ได้จัดให้มีการสัมมนา “สมาร์ทกริด (Smart Grid) ระบบโครงข่ายไฟฟ้า เพื่อเมืองอนาคต” อย่างต่อเนื่อง ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด โดยได้เชิญหน่วยงานการไฟฟ้าฯ เข้าร่วมให้ความรู้และบอกเล่าถึงแผนงานด้านระบบโครงข่ายไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องให้ภาคประชาชนได้รับทราบ โดยครั้งนี้ ( 26 ธ.ค.62) ได้จัดสัมมนาขึ้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

“ระบบโครงข่ายไฟฟ้าสมาร์ทกริด จะเข้ามามีบทบาทสำคัญด้านการบริหารจัดการพลังงานของประเทศ การจัดสัมมนาในครั้งนี้เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจต่อประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ต่อแผนพัฒนาโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทยที่กำหนดไว้ในระยะยาว 20 ปี ( พ.ศ. 2558 – 2579) ซึ่งระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดนี้ได้บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ PDP2018 ด้วย ทั้งยังได้เชิญการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเข้าร่วมสร้างความรู้รวมถึงได้รับทราบแผนงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต”

สนพ.ร่วม กฟผ.-กฟภ.เร่งสร้างความรู้ \"โครงข่ายสมาร์ทกริด\"

นางสาวแพรวพรรณ วงศ์บุญเพ็ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สนพ. กล่าวว่า  เทคโนโลยีต่าง ๆ นั้นได้เข้าใกล้เราทุกคนมากขึ้น แทรกซึมอยู่ในการใช้ชีวิตประจำวัน เข้าสู่ยุคที่เรียกว่า Disruptive  Technology  ในด้านเทคโนโลยีพลังงานก็เช่นกันมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง เราสามารถควบคุมการใช้ไฟฟ้าได้ด้วยตนเองภายในบ้านผ่าน Home Energy Management   System  ซึ่งนั่นก็นับเป็นหนึ่งในระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด สำหรับแผนพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดที่กระทรวงพลังงานกำหนดเป้าหมายระยะยาวภายใน 20 ปีนั้น ขณะนี้อยู่ในแผนระยะสั้น(พ.ศ.2560 -2564) เป็นช่วงของการค้นคว้าทดลองทำโครงการต่าง ๆ ซึ่งต้องพัฒนาไปพร้อมกับการสร้างองค์ความรู้ภาคประชาชน

สนพ.ร่วม กฟผ.-กฟภ.เร่งสร้างความรู้ \"โครงข่ายสมาร์ทกริด\"

ดร.ฐิติพร สังข์เพชร หัวหน้ากองวางแผนพัฒนาระบบไฟฟ้ารูปแบบใหม่ ฝ่ายแผนการผลิตไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยถึงแผนพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดว่า ได้พัฒนากริดเพื่อให้ยืดหยุ่นต่อพลังงานหมุนเวียนที่จะเข้ามาในระบบมากขึ้น ทั้งยังสนับสนุนให้ประชาชนได้เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เอง และให้ศึกษาเกี่ยวกับระบบแบตเตอรี่ในการกักเก็บพลังงาน หากเหลือใช้ก็สามารถขายเข้าระบบการไฟฟ้าฯได้ และโปรเจ็กต์ใหญ่ของกฟผ.อีก 1 โครงการคือจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ด้านพลังงานของกฟผ. ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จต้นปี 2564 จะเปิดให้ทุกคนเข้าชมฟรี เป้าหมายคือจะให้เป็นต้นแบบด้านพลังงานของเพื่อนบ้านด้วย

สนพ.ร่วม กฟผ.-กฟภ.เร่งสร้างความรู้ \"โครงข่ายสมาร์ทกริด\"

นายทรงวุฒิ ขันดี ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กล่าวว่า หนึ่งธุรกิจที่จะเกิดขึ้นใน Power Market คือผู้ที่จะมาดูแลจัดการซื้อขายพลังงาน หากในอนาคตมีการผลิตไฟใช้เองและเหลือใช้เพื่อขายคืน จะเห็นได้ว่าภาครัฐนั้นสนับสนุนให้มีการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าใช้เองในภาคประชาชน ซึ่งความต้องการใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันคือ มีคุณภาพ สะอาด และราคาถูก ในอนาคตเมื่อระบบโครงข่ายไฟฟ้ามีความชาญฉลาดขึ้น การบริหารจัดการด้านพลังงานมีประสิทธิภาพ เราจะได้พลังงานในรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นในระบบอีกมากมาย

สนพ.ร่วม กฟผ.-กฟภ.เร่งสร้างความรู้ \"โครงข่ายสมาร์ทกริด\"

สนพ.ร่วม กฟผ.-กฟภ.เร่งสร้างความรู้ \"โครงข่ายสมาร์ทกริด\"

กิจกรรมการจัดสัมมนา “สมาร์ทกริด (Smart Grid) ระบบโครงข่ายไฟฟ้า เพื่อเมืองอนาคต” ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ 6 ที่ สนพ.และหน่วยงานได้ขับเคลื่อนความรู้กระจายสู่ภาคประชาชนตามต่างจังหวัด เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้รับทราบนโยบาย แผนงาน และทิศทางการดำเนินงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และสร้างความเข้าใจนำไปสู่การเตรียมตัวเพื่อรับมือกับเทคโนโลยีพลังงานยุคใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ