เด่นโซเชียล

หายนะมาเยือน? ดร.ธรณ์ เผย ภาวะโลกเดือด ทำ 'หญ้าทะเลไทย' วิกฤต?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หายนะมาเยือน? ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เปิดที่มา “หายนะหญ้าทะเลไทย” ต้นตอเพราะ ระบบนิเวศเปลี่ยน หรือ เพราะน้ำมือมนุษย์?

28 เม.ย. 2567 ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ โพสต์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ระบุว่า ใช้เวลาหลายชั่วโมงตั้งใจทำมินิซีรี่ย์ "จุดจบ" มาให้เพื่อน เผื่อว่าคุณพ่อคุณแม่คุณครูจะนำไปสอนน้องๆ ว่าโลกร้อนทะเลเดือดทำร้ายธรรมชาติแค่ไหน แหล่ง "หญ้าทะเล"  คือ ระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์สูงสุด Top3 ในทะเล ยังเป็นระบบนิเวศกักเก็บคาร์บอนดีที่สุดในโลก แต่เมื่อมนุษย์ทำลายโลกด้วยก๊าซเรือนกระจก จุดจบจึงมาเยือน

ขอบคุณภาพจาก Facebook : Thon Thamrongnawasawat

 

แหล่ง "หญ้าทะเล" เกาะกระดาด มีพื้นที่มากกว่า 810 ไร่ ถือเป็นแหล่งหญ้าในแนวปะการังใหญ่สุดของภาคตะวันออก ผมเป็นคนสำรวจแหล่งหญ้าแห่งนี้เป็นทีมแรก ตั้งแต่ปี 2532 จำได้ว่าหญ้าเยอะมาก สุดสายตา ปะการังที่แทรกอยู่ในแหล่งหญ้าดูดีมีสีสัน เต็มไปด้วยหอยมือเสือไม่รู้กี่ร้อยกี่พันตัว (หอยชนิดเล็ก T. crocea)

 

ที่สำคัญคือทากทะเลกลุ่ม "กระต่ายทะเล - sea hare" ที่นี่เยอะมากๆ จนกล้ายืนยันว่ามากสุดในไทย ดำน้ำผ่านๆ ก็เจอเป็นสิบๆ ตัว บนเกาะกระดาดมีคนน้อยมาก แทบไม่มีกิจกรรมท่องเที่ยวหรือพัฒนาใด "หญ้าทะเล"  สมบูรณ์เรื่อยมาตลอดเวลา 30 ปี พ.ศ.2563 กรมทะเลรายงานว่า ที่นี่มี "หญ้าทะเล" 6 ชนิด หลากหลายที่สุดแห่งหนึ่งในอ่าวไทย หญ้าชนิดหลักคือหญ้าคาทะเลและหญ้าชะเงาปลายใบฟันเลื่อย หญ้าทะเลพบตั้งแต่ความลึก 0.5-3 เมตร ความสมบูรณ์ระดับดีมาก (80-90%) พบปลาอย่างน้อย 23 ชนิด นั่นคือเมื่อ 4 ปีก่อน

 

 

 

ขอบคุณภาพจาก Facebook : Thon Thamrongnawasawat

 

พ.ศ. 2564-65 ผมกลับไปสำรวจแหล่ง "หญ้าทะเล" เกาะกระดาด ภายใต้ความร่วมมือ MOU บางจาก & คณะประมง ผมยืนดูพื้นที่อย่างตกตะลึง หญ้าหายไปไหน ? ภาพถ่ายจากโดรนเปรียบเทียบระหว่างปี 2563 (พี่สุวรรณ) และปี 2565 (คณะประมง) คงเป็นหลักฐานยืนยันได้ดีว่า "หญ้าทะเล" หายไปเยอะมาก

 

 

 

 

ขอบคุณภาพจาก Facebook : Thon Thamrongnawasawat

 

พ.ศ.2564-65 น้ำทะเลลงต่ำมาก ในพื้นที่บางแห่งของอ่าวไทย และอันดามัน สาเหตุอาจมาจากความเปลี่ยนแปลงของกระบวนการในทะเล ที่เกี่ยวข้องกับโลกร้อน "หญ้าทะเล" โผล่พ้นน้ำ หากเป็นช่วงสั้นๆ คงไม่เป็นไร แต่ปรากฏการณ์นี้เกิดถี่ขึ้น

 

ขอบคุณภาพจาก Facebook : Thon Thamrongnawasawat

พ.ศ.2565 หลังจากโผล่พ้นน้ำ และโดนแดดแผดเผาอย่างต่อเนื่อง ใบ "หญ้าทะเล" แห้งกรอบจนไหม้ ไหม้หมดเลย ไหม้ทั้งดง ผมยืนดูภาพที่เพื่อนธรณ์เห็นด้วยความรู้สึกที่บรรยายไม่ถูก ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล ที่สำรวจแหล่งหญ้าแห่งนี้เป็นทีมแรก ภาพเมื่อกว่า 30 ปีก่อนยังจำได้ดี

 

 

ขอบคุณภาพจาก Facebook : Thon Thamrongnawasawat

อุณหภูมิน้ำสูงขึ้นผิดปกติ น้ำร้อนซ้ำเติมหนักขึ้น พื้นทรายยิ่งกักเก็บความร้อน เกิดปรากฏการณ์ "หญ้านึ่ง" (ชื่อไม่เป็นทางการ) รากเหง้านิ่มและเน่า หญ้าคาทะเลลดลงอย่างรวดเร็ว เหลือเพียงตอโผล่มาเพียงไม่มากในพื้นที่มีน้ำเฉ อะแฉะ แต่ถ้าเป็นบนดอน หญ้าตายหมด ปรากฏการณ์แบบนี้ไม่ได้มีเฉพาะเกาะกระดาด หญ้าที่ตรัง ที่กระบี่/สตูล/พังงา (บางแห่ง) ล้วนเจอสถานการณ์คล้ายกัน นั่นคือที่มาของ "หายนะหญ้าทะเลไทย"

 

 

 

ขอบคุณภาพจาก Facebook : Thon Thamrongnawasawat

พ.ศ.2565 ยังมีหญ้าพอเหลือรอดบ้างในแอ่งน้ำตอนน้ำลงต่ำ แต่น้ำในแอ่งร้อนมากๆ ปะการังที่เหลืออยู่สีซีดจนใกล้ตาย

 

ขอบคุณภาพจาก Facebook : Thon Thamrongnawasawat

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ