ข่าว

"วิชา"ชี้3รมต.ลงมติพ.ร.บ.งบฯ อาจไม่เข้าข่ายกฏหมายป.ป.ช.

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

”วิชา มหาคุณ” ระบุ 3 รัฐมนตรีลงมติร่างพ.ร.บ.งบประมาณเพิ่มเติม อาจไม่เข้าข่ายกฏหมายป.ป.ช. เพียงแต่ผิดมารยาท คาดป.ป.ช.พิจารณาเบื้องต้น 5 ก.พ. ด้าน"สุเทพ"ชี้"เรืองไกร"ยื่นป.ป.ช.สอบ 3 รมต. เป็นการทำตามหน้าที่ ระบุจะได้เป็นบรรทัดฐาน มั่นใจรัฐบาลมีข้อมูลพร้อมไ

(2ก.พ.) นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า กรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ได้เข้ายื่นหนังสือพร้อมเอกสารบันทึกการลงคะแนนรับหลักการร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมฯต่อป.ป.ช. เพื่อให้ตรวจสอบการลงมติพ.ร.บ.ดังกล่าวของรัฐมนตรี 3 คน คือ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรียุติธรรม นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีคมนาคมและนายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยคมนาคม ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 177 วรรคสอง ที่ห้ามรัฐมนตรีลงมติในเรื่องที่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือไม่ เมื่อยื่นเรื่องมาที่ป.ป.ช. เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบว่า เรื่องดังกล่าวอยู่ในอำนาจของป.ป.ช. หรือไม่ หากมีอำนาจก็จะดำเนินการไปตามกระบวนการ ทั้งนี้ตนมองว่า ศาลรัฐธรรมนูญน่าจะมีอำนาจเป็นผู้วินิจฉัยเรื่องนี้ได้ดีที่สุด โดยนักการเมืองที่มีส่วนได้ส่วนเสียควรเป็นผู้ดำเนินการยื่นเรื่องเอง ทั้งนี้กรณีดังกล่าวไม่ได้มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 ถึงผลที่เกิดจากการกระทำดังกล่าวว่า จะมีผลอย่างไรและมีบทลงโทษอย่างไร นอกจากนี้กฎหมายของ ป.ป.ช. ก็ไม่ได้ระบุบทลงโทษกรณีดังกล่าวไว้ด้วยว่า จะต้องลงโทษอย่างไร สำหรับการนำเรื่องดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาเบื้องต้นคาดว่า ในการประชุมป.ป.ช.วันที่ 5 ก.พ. น่าจะมีการหยิบยกเรื่องนี้เข้ามาหารือ "ป.ป.ช.คงดูว่า อยู่ในข่ายอำนาจหรือไม่ และคงมองที่ประเด็นการเข้าข่ายการขัดกันแห่งผลประโยชน์หรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้ต้องดู 2-3 เรื่องคือ ถ้ากฎหมายต้องการเอาผิดจะเขียนไว้ในพ.ร.บ.ประกอบฯว่าด้วยป.ป.ช.มาตรา 100-103 ถ้าไม่ใช่เรื่องผิดทางอาญาก็จะเป็นเรื่องผิดจริยธรรมซึ่งอาจนำไปสู่การตำหนิ การถูกถอดถอน กระบวนการที่ป.ป.ช.จะพิจารณาคงต้องดูรายละเอียดตรงนี้ว่า เป็นเรื่องทางจริยธรรมหรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับคดีอาญา ต้องไม่ลืมว่าอำนาจของป.ปช.จะพิจารณาได้ต้องเป็นเรื่องความผิดทางอาญาเนื่องในการกระทำผิดหรือประพฤติมิชอบ ผมมองว่า กรณีนี้ยังไม่เข้าข่ายความผิดทางอาญา แต่โดยมารยาทอาจจะผิดมารยาท อีกทั้งรัฐธรรมนูญเขียนไว้เฉพาะในมาตรา 177 แต่ไม่ได้ระบุว่าต้องพ้นตำแหน่งหรือมีความผิดอย่างไร " นายวิชา กล่าว ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ยื่นคำร้องต่อป.ป.ช.ขอให้ตรวจสอบกรณี 3 รัฐมนตรีที่ลงมติรับร่างพ.ร.บ.งบประมาณขัดกฎหมาย ว่า ที่นายเรืองไกรทำก็ทำตามหน้าที่ของเขา ส่วนผู้มีหน้าที่ตีความ ตรวจสอบ วินิจฉัยก็ดำเนินการไป เพื่อจะได้เป็นบรรทัดฐาน ตนเข้าใจว่ารัฐบาลมีข้อมูลข้อเท็จจริงที่จะไปชี้แจง อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญห้ามไว้ว่าคนที่เป็นรัฐมนตรีและส.ส. ในขณะเดียวกันจะไปยกมือในเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเอง เช่น กรณีถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ อย่างนั้นรัฐธรรมนูญห้ามไม่ให้ทำ แต่การที่รัฐมนตรีทั้ง 3 คนลงมตินั้นเป็นเรื่องของงบประมาณแผ่นดินที่จะนำมาช่วยประชาชน ไม่ได้มาช่วยรัฐมนตรี และความจริงงบฯที่ผ่านนั้นไม่ได้เกี่ยวกับกระทรวงของรัฐมนตรีที่ลงคะแนนเสียด้วยซ้ำไป ตนไม่คิดว่าจะเป็นปัญหา แต่ขออภัยหากความเห็นของตนจะไปล่วงล้ำหน้าที่ของผู้มีสิทธิตีความ
logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ