ข่าว

"อองซาน ซูจี"ถูกนำตัวจากบ้านพักไปพบทูตพิเศษยูเอ็น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นางอองซาน ซูจี ถูกนำตัวออกจากบ้านพักไปพบกับทูตพิเศษของสหประชาชาติแล้ว

(2ก.พ.) ผู้เห็นเหตุการณ์และเจ้าหน้าที่ทางการพม่า เปิดเผยว่า นางอองซาน ซูจี ผู้นำการเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า ได้ถูกนำตัวออกจากบ้านพักในย่างกุ้ง ขึ้นขบวนรถไปพบกับนายอิบราฮิม กัมบารี ทูตพิเศษของสหประชาชาติแล้ว เจ้าหน้าที่รัฐบาลทหาร กล่าวว่า นางซูจีและสมาชิกระดับสูงของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD จะเข้าร่วมการประชุมกับนายกัมบารี ที่เดินทางถึงพม่าเมื่อวันเสาร์ ประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้กับบ้านริมทะเลสาปของนางซูจี ในย่างกุ้ง อดีตเมืองหลวง กล่าวว่า เห็นรถยนต์หลายคัน แล่นออกจากบ้านของนางซูจี เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือราว 10.30 น. ตามเวลาในไทย มุ่งหน้าตรงไปยังบ้านพักรับรองของรัฐบาลทหาร ที่นายกัมบารี อยู่ระหว่างการเจรจากับเจ้าหน้าที่รัฐบาลทหาร นางซูจี เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วง 19 ปีที่ผ่านมา ถูกกักบริเวณอยู่แต่ภายในบ้านพัก ได้ปฏิเสธที่จะพบกับนายกัมบารี ในระหว่างการเยือนพม่าครั้งล่าสุด เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2551 หลังจากเขาล้มเหลวในการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปในพม่านายกัมบารี ซึ่งเป็นชาวไนจีเรีย ได้เดินกลับไปยังพม่าเมื่อวันเสาร์ เพื่อพยายามผลักดันให้รัฐบาลทหาร เดินหน้าไปสู่ประชาธิปไตย แต่เขาก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะพบกับนายพลตาน ฉ่วย ผู้นำสูงสุดของพม่า ในระหว่างการเยือนเป็นเวลา 4 วัน ครั้งล่าสุดนี้ นายกัมบารี กล่าวว่า เขาต้องการหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในประเด็นสำคัญ ที่จะถูกหยิบยกขึ้นมาระหว่างการเยือนของเขา นายกัมบารี ได้พบกับเจ้าหน้าที่ทางการหลายคน รวมทั้ง รัฐมนตรีข่าวสาร จ่อ ซาน และรัฐมนตรีต่างประเทศ เนียน วิน ที่ย่างกุ้งด้วย ส่วนเมื่อวันอาทิตย์ เขาได้พบกับนายอ่อง จี ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ประสานการติดต่อระหว่างรัฐบาลทหารกับนางซูจี เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2550 ที่ตะวันตกมองว่าเป็นการพยายามกลบเกลื่อน หลังจากใช้กำลังเข้ากวาดล้างอย่างรุนแรงต่อผู้ประท้วงต่อต้าน รัฐบาลทหาร เมื่อช่วง 1 เดือน ก่อนหน้านี้ ในการพบปะกันครั้งสุดท้าย เมื่อเดือนมกราคม ปี 2551 นางซูจี กล่าวว่า เธอไม่พอใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นหลังการเจรจา ขณะที่รัฐบาลทหารได้พยายามเร่งเดินหน้า แผนการโร้แม็พสู่ประชาธิปไรย ที่อ้างว่าจะนำไปสู่การเลือกตั้งหลายฝ่าย ในปี 2553 แต่ฝ่ายที่มีความเห็นไม่ลงรอยกับรัฐบาล ระบุว่า เป็นนโยบายที่น่าอับอาย เนื่องจากไม่มีนางซูจี เข้าไปมีส่วนร่วมด้วย พม่าตกอยู่ภายใต้การปกครองของกองทัพ นับตั้งแต่ปี 2505 ก่อนที่นางซูจี จะนำพรรค NLD ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย เมื่อปี 2533 แต่รัฐบาลทหารไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง และเธอยังถูกกักบริเวณไว้ในบ้านพักมานานหลายปีอีกด้วย
logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ