ศรัทธาสายมู

เถราจารย์แห่งคลองบางกอกใหญ่ ' หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ' วัดประดู่ฉิมพลี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ชีวประวัติ ตอนที่ 1 ของ พระราชสังวราภิมณฑ์ หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ แห่ง วัดประดู่ฉิมพลี จากเด็กชายเมืองสมุทรสงคราม สู่เส้นทางร่มกาสาวพักตร์

พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) วัดประดู่ฉิมพลี  เป็นเถราจารย์ที่ผู้คนนับถืออย่างกว้างขวาง มีพระเครื่อง พระปิดตา เป็น วัตถุมงคลเอกของท่าน ด้วยวัตรอันปฏิบัติอันงดงามเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธทุกชนชั้น ท่านถึงพร้อมด้วยบุญบารมีและอิทธิบารมี พระเครื่องของท่านมีปาฏิหาริย์ศักดิ์สิทธิ์ มีประสบการณ์เล่าขานมากมายจากเหนือจดใต้ทั่วประเทศไทย จนกลายเป็นพระหลักยอดนิยมของเมืองไทย และหลวงปู่โต๊ะเป็นภิกษุที่อยู่ในตำแหน่งเจ้าอาวาสยาวนานถึง 69 ปี

เถราจารย์แห่งคลองบางกอกใหญ่ \' หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ\' วัดประดู่ฉิมพลี
รายการศักดิ์สิทธิ์คงกระพัน บอกเล่าถึงที่มาที่ไปของ วัดประดู่ฉิมพลี เป็นวัดเก่า สร้างในยุครัชกาลที่ 3 ปี 2375 สร้างเสร็จทั้งหมดใช้เวลา 8 ปี ในสมัยรัชกาลที่ 4  ผู้สร้างคือ สมเด็จเจ้าพระยาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค)  สมัยยังเป็นพระยาศรีพิพัฒนรัตนราชโกษา จางวางพระคลังสินค้า มีเนื้อที่เฉพาะเขตอาราม ไม่รวมที่ธรณีสงฆ์ถึง 13 ไร่เศษ จัดว่าเป็นวัดใหญ่และงดงามมั่นคงมาก ผิดกว่าวัดที่เป็น วัดราษฎร์ ทั่วไป
 

หนังสือ ชีวประวัติและวัตถุมงคล พระราชสังวราภิมณฑ์ หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ วัดประดู่ฉิมพลี  ที่ทางวัดจัดสร้าง ได้บันทึกประวัติของท่านไว้ว่า  ท่านเป็นชาวสมุทรสงครามโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 4 ค่ำ ปีกุน ยังเป็นอัฐศก ตรงกับวันที่ 27 มีนาคม ปี 2429 ณ.บ้านคลองบางน้อย ตำบลบางพรมหม อำเภอคณฑี

เถราจารย์แห่งคลองบางกอกใหญ่ \' หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ\' วัดประดู่ฉิมพลี
เป็นบุตร นายพลอย กับ นางทับ รัตนคอน มีน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันคนหนึ่งชื่อ เฉื่อย เมื่อเยาว์วัยอยู่กับบิดามารดาและได้เล่าเรียนวิชาหนังสือไทยที่วัดเกาะแก้ว ปากคลองบางน้อย ใกล้บ้านเกิด ต่อมาโยมมารดาของท่าน ถึงแก่กรรม พระภิกษุแก้ว ผู้เป็นญาติบวชอยู่กับพระอุดรคณารักษ์ วัดพระเชตุพน ฯ หรือ วัดโพธิ์ พาหลวงปู่โต๊ะ ในวัยเด็ก มาฝากให้อยู่กับอธิการสุข วัดประดู่ฉิมพลี เมื่ออายุได้ 13 ปี 

เถราจารย์แห่งคลองบางกอกใหญ่ \' หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ\' วัดประดู่ฉิมพลี
หลวงปู่โต๊ะ เรียนหนังสือจนอายุ 17 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร มีพระอธิการสุขเป็นอุปัชฌาย์ บรรพชาได้วันเดียวพระอธิการสุข ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์และผู้อุปการะของท่านก็ได้มรณะภาพ นายคล้าย นางพันธ์ ซึ่งเป็นพี่ชายกับพี่สะใภ้ของพระอธิการสุข และมีบ้านอยู่ใกล้วัดประดู่ฉิมพลีจึงได้อุปาการะท่านต่อมา
 

จนกระทั่งอายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดประดู่ฉิมพลี เมื่อวันอังคาร เดือน 8 อุตตราษาฒขึ้น 7ค่ำ ปีมะแม นพศก ตรงกับ วันที่ 16 กรกฎาคม ปี 2450  เวลา 15.30 นาฬิกา พระครูสมณธรรมสมาทาน (แสง) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นอุปัชฌาย์ พระครูอักขรานุสิต (ผ่อง) วัดนวลนรดิศ เป็นกรรมวาจาจารย์ พระครูธรรมวิรัต (เชย) วัดกำแพง เป็นอนุสาวนาจารย์ มีฉายาในพระพุทธศาสนาว่า “อินทสุวณโณ”

เถราจารย์แห่งคลองบางกอกใหญ่ \' หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ\' วัดประดู่ฉิมพลี
เมื่อท่านได้อุปสมบทแล้วท่านก็ได้ตั้งใจศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมด้วยความวิริยะอุตสาหะด้วยจิตที่มุ่งหวังที่จะบรรลุสู่แดนเกษม ต่อมาพระอธิการคำเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีในสมัยนั้นได้ลาสิกขาบทออกไป ท่านจึงรับภาระหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลี เมื่อท่านมีอายุได้ 26 ปี พรรษา 6 และมีฐานานุกรมที่ พระใบฎีกา ท่านได้รับภาระ เป็นเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีสืบมา จนถึงแก่กาลมรณภาพ และถึงท่านจะมีภาระหน้าที่ในการปกครองคณะสงฆ์ ท่านก็มิย่อท้อต่อการศึกษาและการปฏิบัติทั้งทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ด้วยความมุมานะจนสอบได้ นักธรรมตรีได้ เมื่อปี 2455 เมื่อพระอาจารย์พรหม ผู้ซึ่งให้การอบรมสมาธิกรรมฐานแก่ท่าน ได้มรณภาพไปแล้ว ท่านก็ได้ออกแสวงหาศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐาน


ติดตามตอนต่อไป....
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ