ศรัทธาสายมู

ประวัติย่อ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วาระ 153 ปี ชาตกาล

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อ่านประวัติ ของปรมาจารย์ใหญ่แห่งกองทัพธรรม สายพระกรรมฐาน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ในวาระ 153 ปี ชาตกาล บุคคลสำคัญของโลก


หากกล่าวถึงนามของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ย่อมเป็นที่รู้จักและทราบถึงเรื่องราวของท่าน ไม่มากก็น้อย ในภาพลักษณ์ของ แม่ทัพธรรม ที่เป็นดั่ง ครูใหญ่ ปรมาจารย์รูปสำคัญของ กองทัพธรรมภาคอีสาน และท่านยังได้รับการยกย่อง ตลอดชีวิตของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต นั้น ท่านมีความแน่วแน่ในการสั่งสอนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ แถบประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง ได้รู้จักเรื่องของการทำสมาธิ เจริญภาวนา ซึ่งทำให้บุคคลผู้ปฏิบัติได้รู้เองเห็นเองว่า ความสงบที่เกิดขึ้นในใจของตน จากการทำสมาธิภาวนานั้น ทำให้จิตใจมีความสงบ เยือกเย็น ไม่ร้อนรุ่ม วุ่นวาย จนทำให้ชื่อเสียงขององค์ท่านได้แผ่ขจรขจายไปทั่วทั้งในและต่างประเทศ และท่าน บุคคลสำคัญของโลก ซึ่งมีความสำคัญต่อ"พุทธศาสนาของโลก" โดย องค์การยูเนสโก


ในปี2566 นี้ เป็นวาระครบรอบ 153 ปี ชาตกาล หลวงปู่มั่น จึงขอนำเสนอประวัติของท่านเพื่อเป็นการเผยแพร่บารมีธรรม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
สำหรับประวัติของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เดิมชื่อ เด็กชาย มั่น แก่นแก้ว บิดามารดาชื่อ นายคำด้วง-นางจันทร์ แก่นแก้ว เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 20เดือนมกราคม พ.ศ. 2413 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในตระกูลชาวนา บิดามารดานับถือศาสนาพุทธ มีพี่น้องทั้งหมด 9 คน ได้เข้าบวชเณรตอนอายุ 15 ปี และสึกออกมาตามคำขอของบิดาตอนอายุ 17 ปีเพื่อช่วยงานทางบ้าน


ต่อมาเมื่ออายุได้ 22 ปี ท่านได้บรรพชาอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดศรีทอง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 12 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2436 ได้ฉายาว่า “ภูริทตฺโต” หลังอุปสมบทท่านได้ศึกษาในฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน (ธรรมยุต)กับท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ณ วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี หลังจากนั้นท่านได้เข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดปทุมวนาราม และได้ศึกษาอบรมกับท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)พ วัดบรมนิวาส

ประวัติย่อ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วาระ 153 ปี ชาตกาล

หลังจากนั้นท่านได้ออกฝึกปฏิบัติ “ธุดงคกรรมฐาน” ด้วยองค์ท่านเองตามลำพัง โดยธุดงค์ไปตามสถานที่ที่เป็นป่าเขา ถ้ำ เงื้อมผา ทางภาคเหนือ ภาคอีสาน บางครั้งท่านก็ธุดงค์ไปยังประเทศพม่า ลาว หลวงพระบางเป็นต้น ซึ่งในระหว่างธุดงค์ไปนั้น ก็มีคณะศิษยานุศิษย์ที่เลื่อมใสในข้อวัตรปฏิบัติขององค์ท่านได้ติดตามไปแบบห่างๆด้วย จนต่อมาพระสงฆ์เหล่านั้นได้เจริญงอกงามในธรรม จนกลายเป็นพระเกจิอาจารย์องค์สำคัญๆในเมืองไทย เป็นที่เคารพสักการะของพระมหากษัตริย์และประชาชนชาวไทยและประเทศเพื่อนบ้านเป็นอย่างมากมาย
 


หลวงปู่มั่น ได้อาศัยอยู่ตามป่าตามเขาตลอด 57 ปีของการบรรพชา ในช่วงระยะ 5 ปีที่ย่างเข้าวัยชรา จึงได้พำนักเป็นหลักแหล่ง ณ วัดป่าหนองผือนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งช่วงนั้นท่านได้สั่งสอนอบรมศิษยานุศิษย์เป็นจำนวนมาก ชื่อเสียงล่ำลือไปทั่วมีประชาชนนับถือทั่วประเทศ จนกระทั่งท่านอาพาธหนักเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2492 และท่านได้มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 11 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2492 เวลา 02.23 น. และคณะศิษย์ได้ร่วมจัดงานประชุมเพลิงท่าน ณ วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที 30 เดือนมกราคม พ.ศ. 2493 สิริรวมอายุได้ 80 ปี


สำหรับงานสำคัญของ หลวงปู่มั่น ในปีนี้ มีการจัดงานฟื้นรอยธรรมปฏิบัติบูชาสมาธิ 153 ปีชาตกาล “หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต” บุคคลสำคัญของโลก สาขาสันติภาพ หวังกระตุ้นให้เด็ก เยาวชน ประชาชน คนรุ่นใหม่ได้หวนกลับมาเรียนรู้ข้อวัตรปฏิบัติของพระสายป่า สอดแทรกศีลธรรม อันเป็นเครื่องหมายของคนดี ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยอย่างยั่งยืน โดยกำหนดจัดงานเฉลิมฉลองวาระ 153  ปีชาติกาล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ระหว่างวันที่ 20 มกราคม 2566 ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อน้อมรำลึกถึงองค์ ทั่วประเทศและต่างประเทศ และ วันที่ 21 มกราคม 2566  ตั้งแต่เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ