ศรัทธาสายมู

ราชมงคลธัญบุรี ถวายรางวัลสรรเสริญกิตติมศักดิ์ 3 เกจิอาจารย์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ราชมงคลธัญบุรี ประกทศถวายรางวัลราชมงคลสรรเสริญกิตติมศักดิ์ ด้านศาสนา 3 พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง พระมหาสุรศักดิ์ หลวงพ่ออิฏฐ์ พระอาจารย์แก้ว

ศิษยานุศิษย์ปลาบปลื้ม แฟนเพจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประกาศการแจกรางวัลประจำปี รางวัลราชมงคลสรรเสริญกิตติมศักดิ์ พุทธศักราช 2566 ด้านศาสนา โดยได้ถวายรางวัลให้กับพระภิกษุสงฆ์ รวมถึงเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ 

พระธรรมวชิรเมธี ( มีชัย วีรปญฺโญ),รศ.ดร.
พระราชภาวนาวชิรคุณ (จื่อ พนฺธมุตโต)
พระราชวัชรสารบัณฑิต(ประสาร จนฺทสาโร) ,รศ.ดร.
พระไพศาลประชาทร (พบโชค ติสฺสวํโส)
พระภาวนาวิสุทธิโสภณ(สุรศักดิ์ อติกฺโข)
พระครูโสภิตวิริยาภรณ์(สมโภชน์ ภทฺทจาโร)
พระครูปลัดสุวัฒนเถรคุณ(ธรรมทส ขนฺติพโล)
พระมหาสมโชค ชุตินฺธโร ,ดร.

และรางวัลราชมงคลสรรเสริญ พุทธศักราช 2566 ประเภทบุคคลทั่วไป ด้านศาสนา 

พระครูภาวนาวิมล (สุพรชัย สารธมฺโม)

สำหรับเกจิรูปสำคัญ ที่ได้รับรางวัลดังกล่าวที่น่าสนใจนั้น ได้แก่  พระภาวนาวิสุทธิโสภณ(สุรศักดิ์ อติกฺโข)

 พระภาวนาวิสุทธิโสภณ(สุรศักดิ์ อติกฺโข)

ท่านเป็นชาวสมุทรสงครามโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 8 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 16 ก.ค. 2504 ในวัยเด็กท่านมีสุขภาพไม่ค่อยดี เจ็บป่วยบ่อย ตามความเชื่อคนโบราณจะให้แก้เคล็ดโดยการให้เด็กเสี่ยงทายทรงผม ปรากฏว่าท่านเลือกไว้ผมปอยมาโดยตลอด จนกระทั่งบวชเป็นสามเณร

  ในวัยเด็ก ท่านมีความปรารถนาอยากจะบวชมาก เคยปรารภกับโยมพ่อโยมแม่อยู่หลายครั้งหลายหนจนกระทั่งเรียนจบชั้น ป.6 อายุ 13 ปี ท่านจึงได้บวชเป็นสามเณร พออายุครบบวชก็อุปสมบทที่วัดปัจจันตาราม จ.สมุทรสาคร

เมื่อบวชแล้วก็เข้าศึกษาพระปริยัติธรรม ที่สำนักวัดมหาธาตุฯ จ.เพชรบุรี สอบได้วิทยฐานะเปรียญธรรม 5 ประโยค และด้วยความที่เป็นผู้ชอบศึกษาใฝ่หาความรู้ เมื่อมีโอกาสพบปะคนดีมีวิชาท่านก็ไม่รีรอที่จะขอศึกษาหาความรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์หรือฆราวาส ทำให้ท่านมีความรู้ในศาสตร์วิชาหลายแขนง เช่น ด้านโหราศาสตร์ จาก อ.สุธี พัฒนสุพงษ์, ด้านวิปัสสนากรรมฐาน จาก หลวงปู่คำ วัดดอยสุเทพ และ อ.ตา วัดเขาแก้ว สระบุรี, ด้านวิชาอาคม จาก ครูนาค, ครูสุข นายเวียน, ครูสุตา จ.ร้อยเอ็ด, อ.รวม ฯลฯ

 นอกจากนี้ท่านยังเดินทางไปฝากตัวขอศึกษาวิชานะปัดตลอด จาก หลวงปู่จ่าง วัดเขื่อนเพชร, วิชาทำเบี้ยแก้ จาก หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว, วิชาเป่าทอง จาก หลวงปู่พิชัย วัดเขาหงส์, วิชาขุนทะเล จาก อ.สิงห์ วัดหนองโพธิ์ (ศิษย์หลวงพ่อบุตร วัดพรหมวิหาร) ฯลฯ

ต่อมาเมื่อท่านกลับมาอยู่ที่วัดประดู่ก็ได้รับความเมตตาจาก หลวงปู่หยอด วัดแก้วเจริญ มอบหมายให้ช่วยงานเป็นพระเลขาฯ ของหลวงปู่หยอด ทำให้ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาทำไหม ๗ สี, ตะกรุดลูกอมโลกธาตุ, ตะกรุดมหาระงับปราบหงสา, ตะกรุดโสฬสมงคล, ตะกรุดดาวล้อมเดือน, ตะกรุดตาลยอดด้วน, ตะกรุดคู่ชีวิต ฯลฯ

นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาจากตำราเก่าของหลวงปู่แจ้ง อดีตเจ้าอาวาสวัดประดู่ ผู้เป็นปรมาจารย์ต้นสายวิชาของอัมพวา

 จึงกล่าวได้ว่า พระภาวนาวิสุทธิโสภณ(สุรศักดิ์ อติกฺโข) เป็นผู้สืบสานวิชาสายอัมพวาอย่างเต็มตัว ดุจดังเพชรแท้ที่ผ่านการเจียระไนอย่างดีแล้ว

พระครูโสภิตวิริยาภรณ์(สมโภชน์ ภทฺทจาโร) หรือหลวงพ่ออิฏฐ์
ส่วน พระครูโสภิตวิริยาภรณ์(สมโภชน์ ภทฺทจาโร) หรือหลวงพ่ออิฏฐ์ นามเดิม สมโภชน์ นามสกุล น้อยมา เกิดปีวอก พ.ศ.2499 เป็นชาวอัมพวาโดยกำเนิด มีน้องสาว 2 คน เมื่อโยมแม่เสียชีวิต ขณะอายุได้ 9 ขวบ ท่านจึงเข้าไปอยู่ในกรุงเทพ ฯ กับญาติเพื่อเรียนนาฎศิลป์ที่ช่อง 7 สี อยู่ได้ 1 ปีท่านพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ทางที่ท่านต้องการประกอบกับไม่สามารถอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่กดดันได้ เนื่องจากท่านยังเด็กมาก จึงเดินทางกลับบ้าน และเดินเข้าเดินออกอยู่ในวัดบางกะพ้อมบ้าง วัดจุฬามณีบ้าง จนกลายเป็นลูกศิษย์วัดไปโดยปริยาย พออายุได้ 15 ปี จึงบวชเป็นสามเณร ณ วัดบางกะพ้อม เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2514 และเริ่มต้นเขียนอักษรขอมกับหลวงพ่อปึก ( พระครูสมุทรวิริยาภรณ์ ) วัดสวนหลวง อำเภออัมพวา เมื่อจำพรรษาอยู่วัดบางกะพ้อมได้ 1 พรรษา ท่านหลวงพ่อเนื่อง ( พระครูโกวิทสมุทรคุณ ) จึงได้ชวนให้มาประจำอยู่วัดจุฬามณี ซึ่งเรื่องนี้ผมคิดว่าท่านหลวงพ่อเนื่องคงทราบด้วยญาณของท่านเป็นแน่แท้ว่า สามเณรน้อยองค์นี้จะเจริญรุ่งเรือง มีวิชาอาคมขลัง เป็นกำลังสำคัญในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เป็นที่พึ่งของชาวบ้าน และสร้างความเจริญให้กับวัดจุฬามณี ต่อไปในอนาคต ถึงได้ชักชวนให้ท่านมาอยู่ด้วยกัน และปัจจุบันท่านพระครูวินัยธรอิฏฐ์ ซึ่งต่อไปผมขอใช้คำแทนท่านว่า พระอาจารย์อิฏฐ์ ก็ไม่ได้ทำให้ท่านหลวงพ่อเนื่อง ซึ่งถึงจะละสังขารไปแล้วต้องผิดหวัง เพราะไม่ว่าสรรพวิชาการด้านวิทยาคมใดที่หลวงพ่อเนื่องทำได้ ท่านอาจารย์อิฏฐ์จะเรียนรู้และทำได้ทุกอย่างเหมือนกัน และยังสืบทอดการพัฒนาวัดต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
เมื่ออายุครบบวช ท่านหลวงพ่อเนื่องจึงจัดการอุปสมบทให้เป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2520 โดยมี พระครูโกวิทสมุทรคุณ ( หลวงพ่อเนื่อง ) เป็นอุปัชฌาย์ พระครูนิเทศสมุทรคุณ วัดเจริญสุขาราม กับพระครูสมุทรบรรณวัฒน์ วัดเจริญสุขาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระสมุทรสารโสภณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายาว่า ภทฺทจาโร ซึ่งแปลว่า ผู้มีความเจริญ
หลวงพ่ออิฏฐ์ เป็นผู้ฝักใฝ่ในวิชาความรู้ ทางด้านปริยัติธรรมท่านศึกษาจนสอบได้นักธรรมเอก ทางด้านพระเวทย์วิทยาคม เริ่มต้นศึกษาวิชาการนี้ตั้งแต่สมัยเป็นเณร พยายามดั้นด้นไปกราบขอเรียนวิชากับอาจารย์ที่โด่งดังในยุคนั้นหลายท่านด้วยกัน ซึ่งผมขออนุญาตนำมากล่าวถึง คือ 
1. หลวงพ่อไห วัดบางทะลุ จังหวัดเพชรบุรี สอนทำแหวนพิรอด
2. หลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน วิชาตะกรุดไม้รวก
3. หลวงพ่อไท วัดไทรย้อย
4. หลวงพ่อจ่าง วัดเขื่อนเพชร วิชาต่อกระดูก
5. หลวงพ่อบุญ วัดวังมะนาว ราชบุรี
6. หลวงพ่อขวัญ วัดโพระดก ราชบุรี
7. หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี
8. หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี
9. หลวงพ่อพิณ วัดอุบลวนาราม ราชบุรี ยันต์หนุมาน
10. หลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง วิชายันต์นกคุ้ม
11. หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม คาถาเสกธูป
12. หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี ให้ธาตุทั้งสี่
13. หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ ชัยนาท สอนวิธีลงมีดหมอ
14. หลวงพ่อคลี่ วัดประชา
15. หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร
16. หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง
17. หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา
18. หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา
19. หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ ให้วิชาไหม 5 สี
20. หลวงปู่ดู่ วัดสะแก อยุธยา
21. หลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ
22. หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยา
23. หลวงพ่อแผ่ว วัดโตนดหลวง
24. พระครูเมธีธรรมสาธก หลวงพ่อหนู
25. หลวงปู่มณี วัดกำพร้า วิชาตะกรุดไม้รวก
26. พระครูภาวนาวิริยาจารย์ ( หลวงพ่อสุธรรม วัดเขาพระ เพชรบุรี ) ศึกษาสมาธิ
27.หลวงพ่อตัด วัดชายนา

พระครูปลัดสุวัฒนเถรคุณ(ธรรมทส ขนฺติพโล) หรือ พระอาจารย์แก้ว เจ้าอาวาสวัดตะโก

ด้าน พระครูปลัดสุวัฒนเถรคุณ(ธรรมทส ขนฺติพโล) หรือ พระอาจารย์แก้ว เจ้าอาวาสวัดตะโก อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น.ธ.เอก ป.ธ.4 พุทธศาสตรมหาบัณฑิต อายุ 44 พรรษา 24 ปี เจ้าอาวาสวัดตะโก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมเกิดที่อำเภอภาชี และตอนเป็นเณรได้มาบวชที่วัดตะโก เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก อดีตเจ้าอาวาสวัดตะโก จากนั้นได้ไปเรียนพระปริยัติธรรมเพิ่มเติมที่วัดสามพระยา กรุงเทพฯ ก่อนที่จะได้รับความไว้วางใจจากพระผู้ใหญ่ เจ้าคณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้กลับมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดตะโก

สำหรับแนวทางบริหารวัดพระครูปลัดจริยวัฒน์ ได้ยึดตามแนวทางที่หลวงพ่อรวยได้วางแนวทางไว้ และเน้นงานด้านสาธารณสงเคราะห์ โดยพระครูปลัดจริยวัฒน์ (ธรรมทส ขนฺติพโล ป.ธ.4) พระอาจารย์แก้ว ได้รับตำแหน่งรองเจ้าคณะอำเภอภาชี เมื่อวันที่ 20 ก.ย.565

สำหรับลำดับสมณศักดิ์ พระครูปลัดจริยวัฒน์ พ.ศ. 2552 เป็นเปรียญธรรม 4 ประโยค พ.ศ. 2561 เป็นพระครูคู่สวด พระครูสิทธิสรคุณ ฐานานุกรมใน พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ พ.ศ.2565 เป็นพระครูปลัด พระครูปลัดจริยวัฒน์ ฐานานุกรมใน พระราชาคณะชั้นธรรม

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ