พระเครื่อง

"พระภูทราวดี" ขุนพันธ์ จัดสร้าง จากหัวว่านป่า 400 ชนิด เนื้อสมเด็จโต เกจิดัง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ของดีที่ถูกลืม รู้จัก พระเครื่องเปี่ยมคุณค่า " พระภูทราวดี " พระเครื่องเนื้อผงว่าน ผงพุทธคุณ พล.ต.ท.ประชา บูรณธนิต กับ ขุนพันธรักษ์ราชเดช จัดสร้าง คราว เกษียณอายุราชการ ครูอาจารย์สายใต้ร่วมปลุกเสก

เมื่อพูดถึงพระเครื่อง ในความเข้าใจ ของผู้คนทั่วไป รวมทั้ง คนที่มีความเข้าใจอันตื้นเขิน ในการสะสม หรือ การใช้ พระเครื่อง ว่าต้องใช้ พระเครื่อง ที่มีราคาแพงระยับ หรือ วัตถุมงคล ที่มาจาก พระกรุ เก่าในอดีตกาล แต่ในความเป็นจริงนั้น พระกรุ ลดค่า ลดความนิยมลงอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีความนิยม แต่ก็อยู่ในกลุ่มในก้อน ในแวดวงที่จำกัด เพราะด้วยความไม่ชัดเจน ในตำหนิต่าง ๆ และความรู้ความเข้าใจในการพิจารณา ความรู้ขาดตอน ขาดช่วง ทำให้ความนิยมพระเครื่อง วัตถุมงคล ในยุคใหม่ หรือ พระเครื่องของ เกจิอาจารย์ ที่ร่วมยุค ร่วมสมัย มีตำหนิ ตัวตัด รอยตัดชัดเจน ได้รับความนิยมมากกว่าและก้าวย่างอย่างต่อเนื่อง 

นอกจากนั้น การเช่าหา พระเครื่อง ที่ร่วมสมัย หรือ พระใหม่ เกจิอาจารย์ ครูบาอาจารย์ ที่จัดสร้าง ย่อมไม่แพ้ การจัดสร้างในอดีต อย่าง พระเครื่อง ที่จะยกตัวอย่างให้ได้ศึกษาข้อมูล ซึ่ง ครูบาอาจารย์ ที่ได้ร่วมสร้างนั้น เข้มขลัง และผู้มีศรัทธา ให้การยอมรับอย่างกว้างขวาง นั่นคือ พระภูทราวดี

พระภูทราวดี

สำหรับ พระภูทราวดี ปี 2506 จ.นครปฐม เนื้อดินผสมว่าน สร้างโดย พล.ต.ท.ประชา บูรณธณิต และ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เมื่อปีพ.ศ. 2506 อันเป็น พระเครื่อง เนื้อดินผสมว่าน และผงพระพุทธคุณของท่านอาจารย์ต่างๆ มูลเหตุในการส้รางพระเครื่องครั้งนี้

ขุนพันธรักษ์ราชเดช

เพื่อเป็นของขวัญที่ระลึกในการที่ท่านนายพลทั้งสองจะเกษียณอายุราชการ และท่านทั้งสองห่วงชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ จึงสร้างพระขึ้น เพื่อคุ้มครองป้องกันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ เพื่อแจกจ่ายแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไปตามสมควร ดังนั้นการสร้าง พระเครื่อง ครั้งนี้ จึงสร้างถูกต้องตามพิธีโบราณกาล และบรรจุด้วยพุทธาคมจากพลังจิตของท่านคณาจารย์ต่างๆ ที่ร่วมปลุกเสก

พระภูทราวดี
สิ่งของหายากที่ต้องนำมาเป็นส่วนผสมเนื้อพระนั้นประกอบด้วย หัวว่านป่าสำคัญกว่า 400 ชนิด ดินสังเวชนียสถาน 4 แห่งจากประเทศอินเดีย และผงพุทธคุณของสมเด็จพุทธาจารย์โต ผงจากกรุพระนางตรา ผงจากพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ

พระภูทราวดี

น้ำพระพุทธมนต์ในพิธีสำคัญต่างๆ จากพระอุโบสถทั่วประเทศ ฯลฯ ส่วนแบบพิมพ์ท่านจำลองอย่างองค์ พระร่วงโรจนฤทธิ์ เนื่องจากท่านทราบว่าเป็นพระประทานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างขึ้นด้วยพระราชศรัทธาขององค์พระมหากษัตริย์ และเป็นที่สักการะบูชากราบไหว้ของชาวไทย และชาวต่างประเทศ ด้านหลังมียันต์ตัว "นะ" ขึ้นยอดเป็นอุนาโลม อยู่ในกรอบรูปทรงคล้ายพระเจดีย์กดจมลึกลงไปในเนื้อพระ

พระภูทราวดี
รายชื่อเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมปลุกเสก พระภูธาวดี ที่องค์พระปฐมเจดีย์มีดังนี้
1.หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
2.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
3.พลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
4.หลวงปู่เพิ่ม วังกลางบางแก้ว
5.หลวงพ่อบุญธรรม วัดพระปฐมเจดีย์
6.หลวงพ่อห่วงวัดท่านใน
7.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

พระภูทราวดี

8.พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์ฯ
9.หลวงพ่อคล้าย (วาจาสิทธิ์) วัดสวนขันธ์
10.หลวงปู่ทิม วัดช้างให้
11.หลวงพ่อปาล วัดเขาอ้อ
12.อาจารย์คง วัดบ้านสวน
13.อาจารย์หมุน วัดเขาแดงตะวันออก
14.อาจารย์นำ แก้วจันทร์ (ขณะนั้นยังเป็นชีปะขาวอยู่)
รวมทั้งยังมี อาจารย์ ชุม ไชยคีรี อาจารย์ฆราวาส จอมขมังเวทย์ ในสายวิชา ตักศิลาเขาอ้อ เฉกเช่นเดียวกับ ท่านขุนพันธ์ฯ มาร่วมทำพิธีเสกสร้าง ด้วยเช่นกัน 

พระภูทราวดี
เนื้อพระของ พระภูธราวดี มีสีน้ำตาลและดำ เป็น พระเครื่อง ที่อาจารย์นำ แก้วจันทร์ ท่านเป็นประธานการสร้างจนเสร็จพิธี อันเป็นเหตุให้นักสะสม พระเครื่องทางใต้เล่นหาเป็นพระของอาจารย์นำ และเป็น พระเครื่อง ที่เปี่ยมไปด้วยพุทธานุภาพ เป็นสิริมงคลแก่ท่านที่พกติดตัว เพราะผู้สร้างมีจิตใจอันบริสุทธิ์ และกรรมวิธีการสร้างพระถูกต้องตามโบราณกาล ตลอดจนเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมปลุกเสก ก็เป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่ยอมรับของประชาชนทั่วไป ประกอบกับสถานที่กดพิมพ์พระและสถานที่ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ก็เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จึงนับได้ว่าเป็นพระเครื่องที่ดีที่สุดที่ท่านอาจารย์นำ แก้วจันทร์ได้สร้างหรือร่วมสร้างขึ้น

พระภูทราวดี
พระภูธราวดี จึงเป็นวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นด้วยจิตอันบริสุทธ์ของท่านผู้สร้าง สร้างถูกต้องตามกรรมวิธี พร้อมบรรจุด้วยพุทธาคมอันล้ำเลิศ จากพลังจิตของผู้เพรียบพร้อมด้วยคุณงามความดี และแก่กล้าแห่งพุทธาคม ย่อมต้องบังเกิดความขลังเป็นสิ่งที่ต้องการของพุทธศาสนิกชน เมื่อเป็นของดีย่อมนำผลให้ผู้บูชาประสบความสำเร็จในสิ่งประสงค์อันดี และล่วงพ้นจากพยันตราย

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Website -  www.komchadluek.net
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ