พระเครื่อง

รู้จัก "เสือนอนกิน" เฝ้าทรัพย์ วิชาสำคัญของ ตักศิลาถ้ำพระพุทธโกษีย์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำความรู้จัก "พญาเสือนอนกิน" วิชาสำคัญของ ตักศิลาถ้ำพระพุทธโกษีย์ จัดสร้างโดย พระอาจารย์ประสูติ เข้มขลังตามตำรา เขาอ้อ


สัตว์มงคล ในคติไสยเวทย์ มีหลายชนิด และแบ่งออกเป็นหลายประเภทของการให้ผลในด้านต่างๆ เช่น 


- สัตว์มงคลที่ให้ผลทางเมตตามหานิยม เช่น แมว นก ปลา จิ้งจก เสือ
- สัตว์มงคลที่ให้ผลทางปกป้อง ป้องกันภัย เช่น เสือ หมี ช้าง ต่อแตน
- สัตว์มงคลที่ให้ผลทางทรัพย์สิน เงินทอง โชคลาภ เช่น ปลา แมว นก 


สัตว์มงคลเหล่านี้ โบราณท่านเชื่อว่า มีคุณสมบัติพิเศษที่เรียกว่า “พลังทางวิญญาณ” โบราณจารย์ท่านจึงคิดค้นการสร้างเครื่องราง โดยดึงคุณสมบัติและพลังอำนาจของสัตว์มงคลเหล่านี้ 


เสือ เป็นสัตว์มงคลชนิดหนึ่งที่มีพลังอำนาจทางวิญญาณในระดับสูง ด้วยเสือ เป็นนัยยะสื่อแสดงถึง พลังอำนาจ พละกำลัง อำนาจบารมี มนุษย์มอบอำนาจให้เสือเป็นเจ้าผู้ครองป่า เรียกว่า เจ้าป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสือที่มีตบะอำนาจในตัวมาก เรียกว่า “พญาเสือ” 
 

"พญาเสือ" คือ เสือที่มีตบะอำนาจในตัวสูง เรื่องเล่าขานของพรานป่าในอดีต ส่วนใหญ่เกรงกลัว "พญาเสือ" เพราะว่า เมื่อพญาเสือหากต้องการสัตว์ชนิดใด เพียงแค่จ้องตา จ้องมองไปที่สัตว์ตัวใด สัตว์ตัวนั้นจะอ่อนหมดเรี่ยวแรง กลายเป็นเหยื่อให้จับกินได้อย่างง่ายดาย ความเชื่อนี้ คล้ายกับ แมวตาเพชร หรือ แมวโกญจา ที่มีอำนาจในตัว เมื่อต้องการเหยื่อสัตว์ใด เพียงแค่จ้องมอง สัตว์นั้นก็จะอ่อนแรงให้จับได้โดยง่าย


พรานป่าในอดีต เมื่อเข้าป่าลึก จำเป็นต้องมีมนต์คาถา และการบวงสรวงไหว้ขออนุญาตเจ้าป่า เจ้าเขา ซึ่งการขอขมาลาโทษต่อเจ้าป่านี้ มี ๒ นัยยะ คือ เจ้าป่าที่เป็นจิตวิญญาณ จำพวก มหิทธิกา หรือ โอปปาติกะ และจำพวกที่ ๒ คือ เจ้าป่าที่หมายถึง "พญาเสือ" ที่มีพลังอำนาจทางวิญญาณ 

 

คุณสมบัติพลังอำนาจของเสือ ปรากฎอยู่แทบทุกส่วน เช่น กระโหลก หนัง เขี้ยว กงเล็บ การนำชิ้นส่วนของเสือมาประกอบเป็นเครื่องราง ได้รับความนิยมกันมากตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน แต่ที่ได้รับความนิยมกันมากที่สุดคือ เขี้ยว และหนัง โดยหนังที่เชื่อว่ามีฤทธิ์อำนาจมากที่สุด คือ หนังบริเวณหน้าผากเสือ เกจิผู้เรืองนาม สร้างเขี้ยวเสือจนโด่งดัง เช่น หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย 


เขี้ยวเสือของหลวงพ่อปาน มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ คือ ได้ทูลเกล้าถวาย ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ขณะเสด็จพระราชดำเนินเปิดประตูกั้นน้ำแห่งใหม่ที่คลองบางเหี้ย พระองค์ยังทรงบันทึกเป็นพระราชหัตถเรขาถึงเขี้ยวเสือของหลวงพ่อปานอีกด้วย 

วิชาเขี้ยวเสือของหลวงพ่อปาน เป็นที่เชื่อถือกันมากในหมู่ลูกศิษย์ หลายคนที่ได้รับย่อมประสบกับประสบการณ์กันทั้งสิ้น ด้วยเชื่อว่ามีคุณวิเศษทางอำนาจบารมี แคล้วคลาดปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม เช่น เรื่องหนึ่งที่เล่าขานกันคือ เขี้ยวเสือของหลวงพ่อสามารถกระโดดไปกินหมูของชาวบ้านคนอื่นได้ 
 

และด้วยคุณวิเศษต่าง ๆ ของเสือ และ "พญาเสือ"  พระอาจารย์ประสูติ ปิยธมฺโม วัดในเตา จ.ตรัง จึงได้จัดสร้างเหรีญ พญาเสือนอนกิน ถือได้ว่าเป็นสุดยอดวัตถุมงคลอีกรูปแบบหนึ่งของพระอาจารย์ประสูติ  ที่ได้รับสืบทอดสรรพวิทยาคมจาก พ่อท่านแสง บรมครูของวัดถ้ำพระพุทธโกษีย์  ศิษย์สายเขาอ้อ สายของพระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา และพระอาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ    

รู้จัก "เสือนอนกิน" เฝ้าทรัพย์ วิชาสำคัญของ ตักศิลาถ้ำพระพุทธโกษีย์

เป็นวัตถุมงคลที่เสริมสร้างเสน่ห์บวกอำนาจคูณด้วยบารมี ยกกำลังสองในเรื่องเมตตามหานิยมเป็นที่เคารพนับถือแก่ผู้มาวิสาสะกับผู้ครอบ ครอง บูชา ขนาดอยู่บ้านเฉยๆยังมีผู้คนไปมาหาสู่ นำลาภนำสิ่งของมาให้ แล้วถ้าพกติดตัวแล้วออกไปทำมาหากิน อานุภาพก็จะเพิ่มพูน เป็นร้อยเท่า 

รู้จัก "เสือนอนกิน" เฝ้าทรัพย์ วิชาสำคัญของ ตักศิลาถ้ำพระพุทธโกษีย์

 การได้มาของศาสตร์วิชาพญาเสือเฒ่า(พญาเสือนอนกิน)นั้น เกิดจากพ่อท่านแสงเล็งเห็นว่า ภูมิภาคของวัดในเตา อยู่ในป่าใน เขายากต่อการเดินทางไปมาหาสู่ และการจะพัฒนาวัดในเตาให้เจริญขึ้นภายในเวลาอันสั้นนั้นคงจะเป็นไปได้ยาก  จึงเรียก พระอาจารย์ประสูติ ไปพบพร้อมกับมอบวิชาพญาเสือเฒ่าให้ โดยกำชับสั่งเสียว่า "วัดนี้มันกันดารมาก ฉันจะให้วิชาพญาเสือเฒ่านี้ ไว้ใช้พัฒนาวัดวาอารามให้เจริญรุ่งเรือง"

รู้จัก "เสือนอนกิน" เฝ้าทรัพย์ วิชาสำคัญของ ตักศิลาถ้ำพระพุทธโกษีย์

 วิชาพญาเสือเฒ่านี้ เป็นสุดยอดแห่งสรรพวิชามหาเมตตาบารมี ตบะเดชะอำนาจ เป็นที่รักและเคารพยำเกรงแก่ ศัตรูหมู่มารและผู้คนทั่วไป เปรียบได้กับเสือเฒ่าที่ไม่ต้องออกไปหาอาหารเองมีข้าทาสบริวารนำอาหารมาให้ กินถึงที่ บ่งบอกถึง มหาอำนาจบารมีที่มีอยู่ในตัวตน เป็นเสน่ห์กับทุกเพศทุกวัยถึงจะมีความหวาดกลัวสักเพียงใดแต่ก็อยากพบอยากจะ เห็นหน้า เป็นที่ เสน่หาอยากพบอยากเจอ    

รู้จัก "เสือนอนกิน" เฝ้าทรัพย์ วิชาสำคัญของ ตักศิลาถ้ำพระพุทธโกษีย์  


พระคาถากำกับ หัวใจพญาเสือเฒ่านั้น ว่า นะโม 3 จบ  “พุทธัง อะอือกูนี้คืออ้ายเสือเฒ่า  ธัมมัง อะอือกูนี้คืออ้ายเสือเฒ่า สังฆัง อะอือกูนี้คืออ้ายเสือเฒ่าโภคา มัชฌิมา สุขาวะหา ให้ลาภมาหาเอง”   

 


อัพเดทประเด็นที่เป็นกระแส กับ คมชัดลึก เพิ่มเติม ที่นี่
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
Twitter - https://twitter.com/Kom_chad_luek
Instagram - https://www.instagram.com/komchadluek_online/

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ