ข่าว

หนอนเจาะขั้ว-ใบสนิม-ราน้ำค้าง รุม! "ลิ้นจี่-เงาะ"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เตือนชาวสวนล้นจี่ เงาะ ช่วงนี้ระวังโรคใบสนิม ราน่้ำค้าง และหนอนเจาะขั้วเข้าทำลายผลผลิต

                ช่วงวันที่ 22-28 มิถุนายน 2559 กรมวิชาการเกษตรแจ้งเตือน!เจ้าของสวนลิ้นจี่ให้ระวังโรคใบจุดสนิมหรือจุดสาหร่าย และโรคราน้ำค้างเทียมหรือผลไหม้สีน้าตาล อีกทั้ง เจ้าของสวนเงาะระวังหนอนเจาะขั้วผล สืบเนื่องจากอากาศร้อน ลมกระโชกแรง ฝนตกหนักและหนาวในเวลากลางคืน
                ลิ้นจี่ - โรคใบจุดสนิม จะพบจุดขุยสีเทากระจายใต้ใบ ด้านบนใบพบเนื้อเยื่อเป็นจุดสีซีดเหลือง ถ้าความชื้นสูงโรคจะรุนแรงพบว่าจุดใต้ใบจะขยายใหญ่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมส้มก่อนเปลี่ยนเป็นสีน้าตาล เนื้อเยื่อใบทั้งด้านบนและล่างกลายเป็นแผลซีดแห้งมีสีน้าตาลดำ ถ้ารุนแรงมากใบจะแห้งบิดเบี้ยวผิดรูปและหลุดร่วง
                       การป้องกัน - หมั่นสำรวจแปลงปลูก เมื่อพบโรคตัดใบที่เป็นโรคออกไปเผาทำลายนอกแปลง เพื่อลดปริมาณและไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรค,กำจัดวัชพืชในแปลงปลูก และตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก ลดความชื้นสะสม,หากพบการระบาดรุนแรงให้พ่นด้วยคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
                     - โรคราน้ำค้างเทียม จะพบแผลไหม้สีน้ำตาลเข้มบนใบ ก้านผล ผิวผล ใบยอด ลามทั่วยอด
                       การป้องกัน - มั่นส้ารวจแปลงปลูก เมื่อพบโรคให้ตัดแต่งและนำส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลาย,กำจัดวัชพืชในแปลงปลูกและตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง,ในระยะติดผลและผลเริ่มแก่ ต้องหมั่นส้ารวจแปลงอยู่เสมอ หากพบการระบาดให้พ่นด้วยสาร เมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรากรัม/น้ำ 20 ลิตร ฯลฯ ทุก 5-7 วัน และหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 15 วัน
              เงาะ - หนอนเจาะขั้วผลเงาะ จะพบช่วงติดผลอ่อนมักพบที่ขั้วหรือต่ำกว่าขั้วเล็กน้อย การทำลายของหนอนไม่สามารถสังเกตได้จากภายนอกต่อเมื่อกินจึงจะพบหนอนอยู่ที่ขั้ว โดยหนอนจะกัดกินที่ขั้วถึงเมล็ด
                      การป้องกัน - ขณะที่เงาะยังไม่สุกเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงการทำลายของหนอน และเก็บเงาะที่ร่วงไปฝังหรือเผา เพื่อป้องกันการระบาดในฤดูต่อไป,บริเวณที่มีการระบาด เมื่อเงาะเริ่มเปลี่ยนสีควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงคาร์บาริล อัตรา 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน และหยุดพ่นสารก่อนเก็บ 7 วัน
        ที่มา : กรมวิชาการเกษตร

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ