คอลัมนิสต์

พ.ร.บ.ศรชล.ฉบับใหม่คุมประมงผิดก.ม.-ผู้ย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

พ.ร.บ.ศรชล. ฉบับใหม่ควบคุมประมงผิดก.ม.-ผู้ย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ : ตะลุยกองทัพ โดยจิตตราภรณ์ เสนวงศ์

           จากสถานการณ์ความมั่นคงและภัยคุกคามทางทะเลในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น กลายเป็นที่มาของร่างพระราชบัญญัติผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล หรือ พ.ร.บ.ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) โดยกองทัพเรือ ร่วมกับกองบังคับการตำรวจน้ำ กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า กรมประมง และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ช่วยกันร่างขึ้นเพื่อเกิดการบูรนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

           โดย พ.ร.บ.ดังกล่าวมีที่มาจากแผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล พ.ศ.2558-2564 ที่รัฐบาลประกาศใช้เมื่อไม่นานมา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อบูรณาการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่สำคัญ 4 ประการ 1.มูลค่าทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทางทะเล และจากการประเมินผลประโยชน์มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ 2.ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ อาทิ ลักลอบค้าสิ่งผิดกฎหมายทางทะเล การลักลอบเข้าเมือง การทำลายสภาพแวดล้อมทางทะเล และภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

           และ 3.การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่จะส่งผลให้เปิดเสรีในการค้าและการดำเนินการต่างๆ ถือเป็นโอกาสและความท้าทาย ในการบริหารจัดการทางทะเลของประเทศไทย 4.การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องกฎหมายทะเลในปี ค.ศ.1982 และการเข้าร่วมเป็นเจ้าของในช่องแคบมะละกา ส่งผลให้บทบาทและความรับผิดชอบของประเทศไทยในประชาคมระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น

           ทั้งนี้ พ.ร.บ.ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลได้ผ่านความเห็นชอบของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ซึ่งเตรียมเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วย 38 มาตราแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ 1.เรื่องฝ่ายบริหาร คือ คณะกรรมการกำหนดนโยบายทะเลแห่งชาติ 2.คณะกรรมการจัดการความรู้และที่ปรึกษา ถือเป็นคลังสมองด้านทะเล 3.ศรชล.ที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนจากของเดิมที่มีปัญหาเรื่องการประสานงาน ความไม่มีเอกภาพ

           “พ.ร.บ.ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล คือ การออกกฎหมายเพื่อให้เกิดการบูรณาการขีดความสามารถในภาคปฏิบัติ เกิดเป็นศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล หรือเรียกว่า ศรชล.ใหม่ โดยกองทัพเรือเป็นเหมือนพี่ใหญ่ที่มีขีดความสามารถสูง เพราะมีความพร้อมในเรื่องของระบบตรวจจับอาวุธ องค์วัตถุบุคคล มีเรือ อากาศยาน มากกว่าหน่วยงานอื่น โดยที่ผ่านมาเมื่อเกิดภัยพิบัติทางทะเล ก็ต้องรอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร้องขอความช่วยเหลือ บางครั้งไม่ทันกาล หากมี พ.ร.บ.ดังกล่าว กองทัพเรือสามารถออกปฏิบัติงานได้ทันที” พล.ร.ท.จุมพล ลุมพิกานนท์ รองเสนาธิการทหารเรือ ในฐานะโฆษกกองทัพเรือกล่าว

           อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ยังรองรับการทำประมงผิดกฎหมาย (ไอยูยู) กรณีผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ กรณีโรฮิงญา นับเป็นการเพิ่มศักยภาพทางทะเลให้แก่กองทัพเรือ ในการวางรากฐานการดูแลความมั่นคงด้านทะเลให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป

           

 
 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ