ข่าว

น้ำท่วม'นิคมบางปู'รง.ปิด-จราจรอัมพาต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

น้ำท่วมนิคมฯ บางปู โรงงานปิด-จราจรอัมพาต พนักงานนั่งเรือทำงาน

        น้ำท่วม'นิคมบางปู'รง.ปิด-จราจรอัมพาต

น้ำท่วม'นิคมบางปู'รง.ปิด-จราจรอัมพาต

น้ำท่วม'นิคมบางปู'รง.ปิด-จราจรอัมพาต                

            เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2559 สถานการณ์ฝนตกลงมาอย่างหนักเมื่อคืนที่ผ่านมาตลอดทั้งคืน ส่งผลให้มีน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างทั่วจังหวัดสมุทรปราการ โดยเฉพาะในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมบางปูเขตส่งออก ที่มีปริมาณน้ำท่วมขังสูงเกือบ 1 เมตร ขณะที่พนักงานที่ยังไม่ละความพยายามที่จะเดินทางเข้าไปทำงาน ต้องใช้เรือพายออกมารับส่งพนักงานจากถนนทางเข้านิคมฯ เข้าไปยังโรงงาน ขณะที่ถนนทางเข้านิคมฯ บางปู มีปริมาณน้ำท่วมขังเช่นกัน ทำให้รถเล็กไม่สามารถวิ่งผ่านเข้าไปได้ มีเจ้าหน้าที่ทหารได้จัดส่งกำลังพร้อมนำรถขนาดใหญ่เข้าไปช่วยรับส่งคนงานเข้าไปส่งทำงานที่บริษัท

น้ำท่วม'นิคมบางปู'รง.ปิด-จราจรอัมพาต

น้ำท่วม'นิคมบางปู'รง.ปิด-จราจรอัมพาต

น้ำท่วม'นิคมบางปู'รง.ปิด-จราจรอัมพาต      

            นอกจากนี้ภายในวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ ก็มีปริมาณน้ำท่วมขังสูงกว่า 50 เซนติเมตร แม้ว่าด้านหลังวิทยาลัยจะมีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่แต่ก็ไม่สามารถระบายน้ำออกได้ทันทำให้ยังมีปริมาณน้ำท่วมสูงอยู่เช่นกัน ส่วนภายในสมาคมฟอกหนัง กม.30 จากเดิมที่ไม่เคยมีน้ำท่วมขัง แต่หลังจากที่ฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องเมื่อคืนนี้ทำให้มีปริมาณน้ำท่วมขังสูงกว่า 50 เซนติเมตรเช่นกัน ขณะเดียวกันด้านถนนพุทธรักษาปริมาณน้ำระบายออกไม่ทันทำให้มีปริมาณน้ำท่วมขังสูงเลยขึ้นมาบนฟุตบาทระยะทางยาวกว่า 1 กิโลเมตร ทำให้การจราจรติดขัดสลับเคลื่อนตัวได้ช้า แม้ว่าทางเทศบาลจะนำรถดับเพลิงออกมาทำการสูบระบายอยู่หลายจุดแต่ยังคงมีปริมาณน้ำท่วมสูง

 

"อุเทน"แนะกทม.พร่องน้ำในคลองเพื่อรับน้ำฝน 

            นายอุเทน ชาติภิญโญ หัวหน้าพรรคคนไทย ในฐานะอดีตประธานกรรมการผันน้ำลงทะเลด้านตะวันออก เมื่อครั้งวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยระบุว่า 2-3 วันนี้ กทม. ฝนตก น้ำท่วมขัง รถติด ขออนุญาตบอกแนะนำเรื่องเดิม ตามที่เคยเสนอ เคยทำอีกครั้งหนึ่งว่า ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันยังต่ำมาก สามารถรับน้ำได้อีก แต่ทำไม กทม.ไม่ระบายน้ำในคลองทุกคลองที่เชื่อมเจ้าพระยา  ซึ่งปิดประตูน้ำไว้ ออกไปก่อนหรือเปิดประตูระบายน้ำทิ้ง ให้ไหลลงเจ้าพระยาไป ก่อนที่ฝนจะตก นี่คือการจัดการเตรียมงาน  เตรียมตัว โดยการหาที่ให้น้ำอยู่ หาทางให้น้ำไป จึงจะมีพื้นที่เหลือพอรับน้ำฝนได้ หรือเรียกว่าแก้มลิง ตามพระราชดำรัส ในหลวงของเรา

            "คนที่เข้าใจในธรรมชาติ คุณสมบัติของน้ำเท่านั้น จึงสามารถจัดการน้ำได้" นายอุเทน ระบุ

นายอุเทน เปิดเผยด้วยว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าน้ำท่วมครั้งนี้ส่วนใหญ่ส่งผลกระทบในพื้นที่ กทม.ชั้นในหรือฝั่งพระนคร ส่วนฝั่งธนบุรีนั้นแทบไม่ได้รับผลกระทบ ทั้งที่มีฝนตกหนักเป็นเวลานานเช่นเดียวกัน เชื่อว่ามาจากการที่ตนได้ให้คำแนะนำแก่ผู้เกี่ยวข้องในฝั่งธนบุรี เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมที่มีการพยากรณ์ว่า จะมีฝนตกหนักในช่วงนี้ โดยให้ทำการพร่องน้ำในคลองสาขาที่เชื่อมต่อแม่น้ำเจ้าพระยาไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะในคลองบางกอกใหญ่ เพื่อรองรับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา ทำให้บรรเทาปัญหาไปได้มาก จึงอยากแนะนำให้ กทม.นำวิธีการนี้ไปใช้ในฝั่งพระนครด้วย เพราะจากการตรวจสอบระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายังสามารถรองรับน้ำได้อีกมาก  หาก กทม.ดำเนินการตามนี้ เชื่อว่าจะทำให้ไม่เกิดน้ำท่วมหนักอย่างที่เป็นใน 2-3 วันนี้  อีกทั้งต้องรีบไปตรวจดูช่องตะแกรงระบายน้ำลงบ่อพักตามถนนต่างๆที่มักมีดินทรายปิดกั้นเป็นคันนูนสูง ทำให้น้ำไหลลงบ่อพักไม่ได้ น้ำก็ไม่ลงท่อระบายน้ำ จึงเกิดการท่วมขัง

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ